การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องเติมน้ำมันเกียร์ CVT แบบรีโมทคอนโทรล

Main Article Content

ยงยุทธ พรมบุตร

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องเติมน้ำมันเกียร์ CVT แบบรีโมทคอนโทรล ใน 3 ด้าน คือ ด้านการออกแบบ ด้านโครงสร้างและระบบการทำงาน ด้านคุณค่าของชิ้นงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้จัดการฝ่ายบริการ หัวหน้าช่าง ครูฝึก บริษัท โตโยต้าอุทัยธานี ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า จำกัด อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี ที่มีประสบการณ์ในสาขาวิชาช่างยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของเครื่องเติมน้ำมันเกียร์ CVT แบบรีโมทคอนโทรล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก และประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องเติมน้ำมันเกียร์ CVT แบบรีโมทคอนโทรล มีค่าเฉลี่ย 57.20 นาที ใช้เวลาน้อยกว่าเครื่องมือปกติ คิดเป็นร้อยละ 76.78

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พช แก้วเขียง. (2545). สร้างและหาประสิทธิภาพชุดประลองงานไฟฟ้ารถยนต์. โครงงานปัญหาพิเศษหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[2] เสกสันต์ จั่นรัด. (2542). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดประลองเรื่องระบบนิวแมติกส์ในรหัสวิชา 31000108 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กรมอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2540. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] นันทพงศ์ ภักดีบุตร. (2563). [ออนไลน์]. มาเรียนรู้การทำงานของระบบเกียร์ CVT. [สืบค้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก http://www.grandprix.co.th/ระบบเกียร์-cvt/
[4] virtual school online. (2559). [ออนไลน์]. รีโมทคอนโทรล. [สืบค้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก http://119.46.166.126/self_all/selfaccess9/m3/527/more/lesson3/p12.php
[5] สุรพงษ์ พงษ์ศรี. (2546). การวิจัยการสร้างชุดสาธิตการทำงานเฟืองท้ายรถยนต์.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์.อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเครื่องกล ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] บุญญฤทธิ์ หวังเจริญ (2561). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องเติมน้ำมันเกียร์โดยใช้แรงดันลม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ 1 st T-VET Student Conference 2018 ครั้งที่ 1 ณ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 จังหวัดพิษณุโลก. 31 มีนาคม 2561. หน้าที่ 767-777.
[7] ธนากร สุกอินทร์. (2561). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพอุปกรณ์ถอดลูกหมากปีกนกล่าง.
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ 1 st T-VET Student Conference 2018 ครั้งที่ 1 ณ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 จังหวัดพิษณุโลก. 31 มีนาคม 2561. หน้าที่ 808-826.
[8] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์