การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกวิเคราะห์ปัญหา เครื่องยนต์ TOYOTA 1NZ –FE ชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) CREATING AND OPTIMIZING PROBLEM ANALYSIS TRAINING KITS FOR TOYOTA ENGINE 1NZ – FE WITH ELECTRONIC CONTROL UNIT (ECU)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ TOYOTA 1NZ–FE ด้วยชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) 2) ศึกษาความพึงพอใจของชุดฝึกวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ TOYOTA 1NZ–FE ด้วยชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU)กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นครูผู้สอนสาขาวิชาเครื่องกล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกประสิทธิภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ TOYOTA 1NZ–FE ด้วยชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) สามารถปฏิบัติงานเทียบเท่ากับเครื่องวิเคราะห์ปัญหารถยนต์ 100 % 2) ความพึงพอใจผู้ใช้งานชุดฝึกวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ TOYOTA 1NZ–FE ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย (ม.ป.ป.). คู่มือการอบรมหลักพื้นฐานของการให้บริการระดับ 1. เล่ม 2. มปพ.
สมปอง คงนิ่ม. (2553). เครื่องยนต์เบนซินควบคุมอิเล็กทรอนิคส์.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น บมจ.
การวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ (2563).(ออนไลน์) : (สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563).จาก : http://www.guydamaxcanic.com
ศิวาวุฒิ สอนเม่น. (2557). เอกสารประกอบ การสอนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิง
อิเล็กทรอนิกส์. วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย.
ปรัชญา การุณวงษ์. (2560). เครื่องวิเคราะห์ค่าความผิดพลาด และแก้ไขข้อมูลของ
กล่อง ECU รถยนต์กำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชฎัชกำแพงเพชร.
กนกทิพย์ พัฒนาพัวพันธ์. (2543). สถิติอ้างอิงเพื่อการวิจัยทางการศึกษา.ภาควิชาประเมิน
ผลและวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทนยาลัยเชียงใหม่.