เครื่องจ่ายกระแสเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแสแบบพกพา วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ธเนศ ภู่กัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องจ่ายกระแสแบบพกพาเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแส(ซีที) สำหรับไว้ตรวจสอบหม้อแปลงกระแส และหาประสิทธิภาพเครื่องจ่ายกระแสแบบพกพาเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแส กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรปริญญาตรี  ระดับชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจ่ายกระแสเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแสแบบพกพา 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องจ่ายกระแสแบบพกพาเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแส สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องจ่ายกระแสแบบพกพาเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแส สำหรับไว้ตรวจสอบหม้อแปลงกระแสใกล้เคียงกับรุ่นเดิมที่มีอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพเครื่องจ่ายกระแสแบบพกพาเพื่อตรวจสอบหม้อแปลงกระแสอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

[1] กฤษณะ นาวารัตน์. (2016). กระแส. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://th.wikipedia.org/ wiki/กระแส
[2] คำรณ แก้วผัด (2016). แบตเตอรี่. [ออนไลน์].สืบค้นจาก :
https://www.nissan.co.th/experience-nissan/Nissan-EV/lithium-ion-battery. html
[3] ไกรสร รวยป้อม (2013). หม้อแปลง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://www.gfuve.com/transformer-test/200A-portable-primary-current-injection-test-kit.html
[4] สุรพงษ์ โซ่ทอง. (2015). Power supply. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก:
https://mall.factomart.com/what-is-a-switching-power-supply/
[5] จิรชัย ทฤษฎีรักษ์. (2016). เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : https://legatool.com/wp/1762/
[6] ชาลิณี พิพัฒนพิภพ. (2018). รีเลย์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : https://th.wikipedia.org/ wiki/รีเลย์