พัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์ เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม DEVELOPMENT OF LEARNING MEDIA ON MOBILE DEVICE ENTITLED VISUAL DESIGN PRINCIPLE USING AUGMENTED REALITY TECHNOLOGY

Main Article Content

ทศพล สิทธิ
สุภาณี เส็งศรี
กอบสุข คงมนัส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีคุณภาพ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ลงเรียนรายวิชา 24121601 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่สร้างขึ้นประกอบด้วยการใช้งานมาร์คเกอร์ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2) สื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้บนโมบายล์ดีไวซ์เรื่อง หลักการออกแบบทางทัศนะ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยรวมอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกรัฐ วะราโภ,อรวรรณ แท่งทอง.(2562). สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) กรณีศึกษานักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกวดวิชา IMaths&Robots child’s Lopburi. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 77-83.

พิชัย แก้วบุตร.(2562). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม(Augmented Reality : AR) กับการเรียนภาษาจีน: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่3 สาขาภาษาต่างประเทศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(1), 113-139.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โอภาส เกาไศยาภรณ์,วสันต์ อติศัพท์,รุศดา ณัฐภาสวิรตา,นิสรีน พรหมปลัด.(2564). การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงบนทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับมหาชนเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้โปรแกรมUnity Vuforia สำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 235-246.

Peters, D. (2013a). Interface design for learning. Upper Saddle River, NJ: New Riders Publishing.

Kapros, Evangelos & Koutsombogera, Maria. (2018). Designing for the User Experience in Learning Systems. doi:10.1007/978-3-319-94794-5.