ชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย FIRE ALARM SYSTEM DEMONSTRATION KIT

Main Article Content

วันชัย กอบกิจ
พิทักษ์ อ่อนสะเดา
กรรณรัตน์ ด้วงบ้านยาง
ภูมิมินทร์ แก้วศรีทัศน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย และ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ช่างเทคนิคประจำอาคารศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ หน่วยงานโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) การออกแบบและสร้างชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิภาพของชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย คิดเป็นร้อยละ 93 และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อชุดสาธิตการทำงานของระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ระบบป้องกันอัคคีภัยNotifier. (2561).[ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2563].จาก https://www.allweb.co.th/อุปกรณ์ดับเพลิง/อุปกรณ์ดับเพลิง-3.html

อธิปตย์ จันทร์ดี. (2562). [ออนไลน์]. ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้. [สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2563]. จาก http://www.mut.ac.th/research-detail-263

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Systems). (2562). [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563]. จาก https://www.integratedsecurity.co.th/ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้-fire-alar

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm Systems). (2562). [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563]. จาก http://gg.gg/Fire-alarm-System1

สุภาภรณ์ อุ้ยนอง. (2561). [ออนไลน์]. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ. [สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2563]. จากhttps://supapornouinong.blogspot.com/2018

/04/blog-post_47.html

ปิยะวิทย์ ล้านจันทร์. (2556). การศึกษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบดับเพลิง ณ โครงการ พี เอส ที คอนโดวิลล์ทาวเวอร์ 2. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. [สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563]. จากhttp:/www.research-system.siam.edu/co-operative/302-2013-12-20-05-58-8

วสันต์ จันโทศรี. (2549). [บทคัดย่อออนไลน์]. การพัฒนาชุดสาธิตระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพะจอมเกล้าธนบุรี. [สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563]. จาก http://gg.gg/The-Development-of-Fire-Alarm-System-Demonstration-Set

ธนชน นวลศรีไพร. (2553). [บทคัดย่อออนไลน์]. การส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ผ่านสายสัญญาณระบบเครือข่ายภายใน. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย) สาขาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย ภาควิชาโครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563]. จาก http://gg.gg/Fire-alarm-signal-via-local-area-network

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.