กระบวนการอไจล์และการเปลี่ยนฉับพลันในมหาวิทยาลัยไทย AGILE METHODOLOGY AND DISRUPTION IN THAI UNIVERSITIES
Main Article Content
บทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยไทยในศตวรรษที่ 21 พบกับความท้ายทายที่มากขึ้น ทั้งจากผลของการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก เช่น การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล การเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล การแปลงเป็นดิจิทัล รวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่มากขึ้นในระดับนานาชาติ ทั้งการแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาเดิมที่มีอยู่แล้วทั่วทั้งโลก และการแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาดิจิทัลที่กำลังมีบทบาทที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลของการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ เช่น ประเทศไทย 4.0 หรือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความท้าทายเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์กร ที่จำเป็นจะต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่ถูกจำกัด ข้อกำหนดในการจัดการศึกษา หรือจำนวนนักศึกษาที่ลดลงจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ นิสิต นักศึกษา หรือผู้เข้ารับบริการการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
กระบวนการอไจล์ คือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการบริหารงานชนิดอื่นๆนอกเหนือจากกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี
บทความนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการอไจล์เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนฉับพลันในอุดมศึกษาไทย เช่น การบริหารองค์กรและโครงสร้างการเรียนรู้ , การออกแบบหลักสูตรการสอน , การเรียนการสอน , การวัดและประเมินผล , รายวิชาและห้องเรียนออนไลน์ รวมถึงผลลัพธ์ที่จะได้จากการนำกระบวนการอไจล์มาใช้ ทั้งการใช้กระบวนการบางส่วนหรือเต็มรูปแบบ
Article Details
References
สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/250336.
Braun, Anette & März, Anna & Mertens, Fabian & Nisser, Annerose. (2020). Rethinking Education in the Digital Age. 10.2861/84330.
Ivetic, Pavle & Ilić, Jovana. (2020). Reinventing Universities: Agile Project Management in Higher Education. European Project Management Journal. 10. 64. 10.18485/epmj.2020.10.1.7.
Rojananan, J. (2017). The lecture documents: the prototypical plan of 20-year strategy (2017-2036) the second generation of the course training of proficiency development of policy and health strategy (HPT). Seminar July 26, 2017 at Ministry of Public Health, Nonthabhuri province.
กฤษณะพงษ์ ดวงสุภา,สยัมภู ใสทา. (2564).การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 17(1), 52-63.
สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/250997.
Chansanam, W., Prabpala, S., & Detthamrong, U. (2018). Development of Financial Information System for Community Financial Institutions in Thailand. ournal of nformation cience, 35(4), 74-91. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/98046
วิสุตร์ เพชรรัตน์,เตชิตา สุทธิรักษ์,กุลวดี จันทร์วิเชียร,อรรณพ ขําขาว,พัทธนันท์ อธิตัง. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39) , 109-123.
สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/249150
Kent Beck; James Grenning; Robert C. Martin; Mike Beedle; Jim Highsmith; Steve Mellor; Arie van Bennekum; Andrew Hunt; Ken Schwaber; Alistair Cockburn; Ron Jeffries; Jeff Sutherland; Ward Cunningham; Jon Kern; Dave Thomas; Martin Fowler; Brian Marick (2001). "หลักการเบื้องหลังคำแถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์". Agile Alliance. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เพ็ญประภา บุตรละ, โอฬาร โรจนพรพันธุ์, พรชัย มงคลนาม. (2558). ทักษะที่จำเป็น สำหรับสมาชิกทีมพัฒนาในสกรัม. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 11(2) , 34-41.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(2562). DEFINING THE FUTURE เรียนปริญญาโท
ออนไลน์กับธรรมศาสตร์ ส่งมอบทักษะแห่งอนาคต. สืบค้นจาก https://tu.ac.th/thammasat-defining-the-future-online-master-degree-tuxsa
Delhij, A., van Solingen, R., & Wijnands, W. (2015). The eduScrum Guide:
The rules of the Game. Available at:
http://eduscrum.nl/en/ file/CKFiles/The_eduScrum_Guide_EN_1.2.pdf.
กรัณรัตน์ ธรรมรักษ์. (2559). ผลการศึกษาการใช้กระบวนการอไจล์ในวิชาโครงงาน กรณีศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 12(2) , 75-81.
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ, 1(1) , 46-70.
Linders, B. (no date). Agile in Higher Education: Experiences from The Open University. Available at: https://www.infoq.com/news/2019/03/agile-higher-education (Accessed: 18 October 2021)