การพัฒนา การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

Sirimon Naruemolsiri

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) สภาพและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร โดยการศึกษาสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการและครูผู้สอน จำนวน 117 คน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) ยกร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร โดยการสังเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) ทดลองรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรกับองค์คณะบุคคลในการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร รวมจำนวน 40 คน 4) ประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร โดยการรับฟังความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างาน และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้นจำนวน 63 คน


            ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 องค์คณะบุคคลในการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร องค์ประกอบที่ 2 หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร และองค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร และ 5) ประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ในการประเมินร่างรูปแบบเบื้องต้นผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ามีความเหมาะสม และผลการทดลองการใช้รูปแบบพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรหลังใช้รูปแบบในภาพรวมสูงขึ้น และผลการประเมินความพึงพอใจขององค์คณะบุคคลในการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรในภาพรวม อยู่ระดับมาก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรการนำไปใช้มีความเป็นไปได้และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). เรียนรู้จากกระแสพระราชดำรัสพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา.

กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎี วิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

Hayden, M. C., & Thompson, J. J. (2007). Policy-Making in Practice: Issues Arising from evaluation of the Welsh Baccalaureate. Welsh Journal of Education. 14(1), 85-99.

งานทะเบียน. (2563). นักเรียนนักศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพตามสาขาวิชาที่เรียน ปีการศึกษา 2561, 2562 และ 2563. ฝ่ายบริหารทรัพยากร, วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร.

สุรินทร์ แก้วมณี. (2560). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์คณะบุคคลเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จีระพงษ์ หอมสุวรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, ภาควิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Argyris, C. (1964). Interpersonal Competence and Organizational Effectiveness. Homewood: Irwin-Dorsey.

ประกอบ กุลเกลี้ยง และสิทธิพร ลิ้มบริบูรณ์. (2545). การบริหารโดยองค์คณะบุคคล. ชุดฝึกอบรมผู้บริหารประมวลสาระ: โครงการพัฒนาผูบริหารการศึกษา ผูบริหารสถานศึกษา ครูผูนําชุมชนและผูนําองคกรปกครองสวนทองถิ่น.

มณีรัตน์ บุญเต็ม และประชุม รอดประเสริฐ. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม

โดยองค์คณะบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาภาคใต้ตอนล่างวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 4(1), 102.

Cohen, John, M., & Uphoff, Norman, T. (1977). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation, The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

กัญวัญญ์ ธารีบุญ. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

เป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, ภาควิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการ

การอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. สำนักนโยบายและ

แผนการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.

Henri Fayol. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Issac

Pitman & Sons Ltd.

โฉมฉาย กาศโอสถ. (2556). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมใน

สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13(3), 1-4.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Rows.

ทวีศักดิ์ สมนอก. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยใช้

โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. สาขาการบริการจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.