การพัฒนาทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนเรื่อง การเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ ภาคครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ แบบฝึกหัดระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียน แบบวัดทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ และแบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดฝึกทักษะการเขียนเส้นในงานเขียนแบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ81.45/81.03 2 )ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน เรื่อง การเขียนเสน้ในงานเขียนแบบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIPA ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกล่าวเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติวิจัย 0.05
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2551). [ออนไลน์]. สร้างอารมณ์ขันเพิ่มสุขในชีวิต. [สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561]. จาก http://www.kriengsak.com/node/1445
พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
นภดล เวชวิฐาน และชานนท์ ชมสุนทร. (2550). เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). [สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559]. จาก http://ph.kku.ac.th/ thai/images/file/km/
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2550). ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รจนา ธรรมศร. (2557). การค้นคว้าแบบอิสระ เรื่องการสร้างชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการหารทศนิยม. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557
สุคนธ์สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง
ศันสนีย์ สื่อสกุล. (2554). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. ปริญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ออนไลน์
อัมพร จำเริญพานิช. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง ปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา เกษมสินธุ์. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาเทคนิคดิจิทัลและการออกแบบหัวข้อ Basic Logic Gate ตามรายวิชา ในหัวข้อ Basic Logic Gate ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 5. ฉบับที่ 9. 53-65.
ชาญชัย ดาศรี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการเรียน แบบปกติวิชางานปรับอากาศยานยนต์.วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วัชรพงษ์ เล็กสุวงษ์. (2551). การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพชุดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาอิเล็กทรนิกส์อุตสาหกรรม 2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาไฟฟ้า.ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.