เตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษ ENERGY SAVING GRILL WITHOUT CANCER RISK

Main Article Content

เปรนิกา มณีท่าโพธ์
วชิรานี ทองดอนเสียง
ชวลิต ศรีสุพัฒนะกุล
รุจพนธ์ หนิมพานิช
วารุณี รัตนกิจถาวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและผลิตเตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษ  จากการทดสอบเครื่องเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่กล่าวมาขั้นต้น พบว่าเวลาที่ติดไฟของถ่านในเตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษให้ระยะเวลานานที่สุดคือ 50.33, 75.67 และ 90.33 นาที ปริมาณ PM 2.5 คือ 58 Ug/m3  CO2 คือ 2,093 ppm และ CO คือ 254 ppm ที่น้ำหนักเชื้อเพลิง 250, 500 และ 750 g ตามลำดับ จากศึกษาระดับมุมเอียงของแบบบานเกล็ดที่มีผลต่ออุณหภูมิพบว่าที่มุมเอียง 0O มีอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิน้อยที่สุด = 9.8 องศาเซลเซียส และที่มุมเอียง 90O มีอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิมากที่สุด = 20.52 องศาเซลเซียส จากศึกษาอุณหภูมิของเตาที่ใช้เตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษ  ที่เหมาะสมคือ หมูปิ้งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สุกดีในเวลาประมาณ 6 นาที และหมูปิ้งในอุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส สุกดีในเวลาประมาณ 4 นาที เตามีประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 34.96% ปริมาณสารโพลาร์ทดสอบน้ำมันหมูที่ปิ้งเตาที่ใช้เตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษ น้อยกว่าเตาธรรมดา มีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สาธิต พันธ์ชาลีและอานนท์ อ่อนสกุล. (2559). เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์, วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ.

ผศ.ดร.นิคม ลนขุนทด. (2557). โปรแกรมควบคุมการตรวจจับปริมาณแก๊ส LPGในห้องครัวด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ พร้อมระบบส่งสัญญาณเตือนภัย. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สมควร เทียมมล. (2561). เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สปิโตรเลียมเหลวรั่วไหลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 17 – 24. วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก.

ชัยยศ ดำรงกิจโกศล ปริวรรต พุ่มวรรต และสุรพงศ์ สำลีพันธุ์. (2563). ผลกระทบของได้เอทิลอีเทอร์ในน้ำมันไบโอดีเซลมะพร้าวต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3.ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 หน้าที่ 137-149.

ชัยยศ ดำรงกิจโกศล ปริวรรต พุ่มวรรต และสุรพงศ์ สำลีพันธุ์. (2563). ผลกระทบของไดเอทิลอีเทอร์ในน้ำมันไบโอดีเซลมะพร้าวต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3.ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 หน้าที่ 137-149.

เรืองชัย สงสำเภา (2559). การสร้างเตาปิ้ง-ย่างต้นแบบและศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อน คณะบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล

สรีวัฒน์ บุญเรือง (2552). เครื่องปิ้งย่างแบบหมุนไร้ควัน วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม : จังหวัดนครปฐม

Bhattacharya S. C., A. H. Md. M. R. Siddique, M.Augustus Leon , H-L. Pham and C. P.Mahandari. (1998). A Study on Improve Institutional Biomass Stove. Energy Program, Asian Institute of Technology, Bangkok, Thailand.

ฐิติพร เจาะจง และพิสิษฏ์ มณีโชติ. (2557). การทดสอบประสิทธิภาพเตาแก๊สชีวมวลขนาดเล็ก. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน

ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี.