การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาโครงการ 2 เพื่อสร้างชุดควบคุมความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสงยูวีซี โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ STEM ร่วมกับ MIAP ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร DEVELOP of LEARNING MANAGEMENT MODE for PROJECT 2 TO CREATE A NEGATIVE PRESSURE CONTROL SET FOR PATIENTS WITH PESTIENCE ALSO UVC LIGHT USING STEM IN CONJUNDTION EITH MIAP OF 2ND YEAR DIPLOMA STUDENTS IN ELECTRICIAN, PHICHIT TECHNICAL COLLEGE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาประสิทธิภาพและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาโครงงาน 2 เพื่อสร้างชุดควบคุมความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสงยูวีซี โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ STEM ร่วมกับ MIAP ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร จำนวน 17 คน ให้มีปะสิทธิภาพ 80/80 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ให้นักศึกษาเรียนจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในวิชาโครงงาน 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งภายหลังจากที่เรียนเสร็จในแต่ละครั้งจะทำการประเมินสมรรถนะภาคความรู้และภาคปฏิบัติจากใบกิจกรรม ใบมอบหมายงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)ประสิทธิผลของการพัฒนาการเรียนรู้มากกว่า .60 และ 3)ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.61
Article Details
References
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. คำแนะนำสำหรับการใช้หลอดยูวีทำลายเชื้อโควิด19. [สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563]. จาก https://www.nimt.or.th/main/?p=31767
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สุราษฎร์ พรหมจันทร์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.
เอกชัย ไก่แก้ว. (2563). การพัฒนาชุดฝึกสมรรถนะในวิชาหลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นโดยใช้เครื่องสลัดน้ำผึงอัติโนมัติ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563. วิทยาลัยเทคนิคแพร่. T-VET Journal. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. พิษณุโลก.
จริยา เหนือเฉลย. (2542). เทคโนโลยีการศึกษา. บริษัทพิมพ์ดี จำกัด. กรุงเทพฯ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). เทคโนโลยีการสอนและการศึกษา. ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. ครั้งที่ 7. สุวีริยาสาสน์. กรุงเทพฯ.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538) . เทคนิควิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุวีริยาสาส์น. กรุงเทพฯ.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุวีริยาสาส์น. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563. กรุงเทพฯ.
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2564). คู่มือการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ.
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. (2565). คู่มือการเขียนรายงานและการจัดพิมพ์รายงานการวิจัย. สำนักอาชีวศึกษาบัณฑิต. พิษณุโลก.
สัญญา โพธิ์วงษ์. (2560). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกสมรรถนะงานเครื่องรับโทรทัศน์สีจอ LCD LED กลุ่มตัวอย่างเลือกจากนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเครื่องรับโทรทัศน์ รหัสวิชา 2105-2011. วิทยาลัยเทคนิคนครนายก. นครนายก.
สมนึก วันละ. (2557). การออกแบบสร้างและพัฒนาบอร์ดไมโครคอลโทรลเลอร์ตระกูล PIC 18FX ส่วนรับข้อมูลและส่วนภาคแสดงผล สำหรับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาไมโครคอลโทรลเลอร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557. T-VET Journal. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. พิษณุโลก.
หน่วยศึกษานิเทศ. (2559). โครงการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. หจก.สินทวีกิจพริ้นติ้ง. นครปฐม.