ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติ ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ บริเวณรางระบายน้ำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก THE EFFICIENCY OF STABILIZATION POND WASTEWATER TREATMENT COMBINED WITH NATURAL METHODS WITH VARIOUS PLANTS DRAINAGE AREA OF PHITSANULOK WOMEN'S PRISON
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับวิถีธรรมชาติด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆบริเวณรางระบายน้ำของทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก โดยใช้วิธีการศึกษาแบบทางประสงค์เน้นการศึกษาและวิเคราะห์ความสมบูรณ์และประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำแบบบ่อปรับเสถียรร่วมกับการใช้พันธุ์ไม้ต่างๆพบว่า คุณภาพของน้ำเสียที่เข้าและออกจากระบบบำบัด มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะทางกายภาพของน้ำดีขึ้น กลิ่นเหม็นเน่าลดลง เมื่อพิจารณาผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำทิ้งในบ่อสุดท้าย พบว่า คุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียในบ่อสุดท้ายของทัณฑสถานหญิงพิษณุโลกส่วนใหญ่มีคุณภาพ น้ำทิ้งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นสารแขวนลอยหรือตะกอนแขวนลอยที่ไม่ละลายน้ำที่ยังมีค่าเกินมาตรฐานคือ 73 (ค่ามาตรฐาน คือไม่เกิน 50) และเปรียบเทียบกับผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำทิ้งเดือนกรกฎาคม 2563 พบว่า คุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียในบ่อสุดท้ายของทัณฑสถานหญิงพิษณุโลกส่วนใหญ่มีคุณภาพน้ำทิ้งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ถึงแม้ว่าสารแขวนลอยหรือตะกอนแขวนลอยที่ไม่ละลายน้ำ จะยังมีค่าเกินมาตรฐาน คือ 62 ซึ่งลดลงจากการตรวจสอบครั้งก่อน แสดงให้เห็นว่าระบบการบำบัดน้ำเสียของทัณฑสถานหญิงพิษณุโลกทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
References
Kirkwood. N (2001). Manufactrured Sites: Rethinking the post-indusial
Landscape. New York: Spon Press
นพวรรณ เสมวิมล และเกษม จันทร์แก้ว. (2556) “การศึกษาปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการหมักกกากตะกอนที่เกิดขึ้นจากระบบน้ำเสียภายใต้กระบวนการ
ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 6, ฉบับที่ 2
(เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2556): 899-912
บัณฑิต จุลาสัย. (2547). การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม: ทางด้านสุนทรียภาพ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมควบคุมมลพิษ. (2551). พืชที่มีคุณสมบัติในการบําบัดน้ําเสีย. กรุงเทพฯ
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2549). ระบบบึงประดิษฐ์. ส่วนงานวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมด้านน้ำ. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
กลอยกาญจน์ เก่าเนตรสุวรรณ. (2558). การบําบัดน้ำเสียชุมชนโดยใช้บึงประดิษฐ์
แบบน้ำไหลใต้ผิวดิน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สหสาขาวิทยาศาสตร์สภาวะ
แวดล้อม บัณฑิตมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ชวาพร ศักดิ์ศรี. (2546). แนวทางในการบรรเทาผลกระทบสถานที่ฝั่งกลบขยะมูลฝอย
โดยใช้ภูมิทัศน์: กรณีศึกษาแหล่งฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย