การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในการพัฒนานวัตกรรมกล่องควบคุมความดันบวกโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยใบกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ ADDIE Model ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เรียนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ ภาคเรี

Main Article Content

เกษตร เมืองทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง หาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินผล วิธีดำเนินการวิจัยโดยนำชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model ไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง


ผลการวิจัยพบว่า ชุดพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ADDIE Model มีประสิทธิภาพ 84.73/81.25 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน โดยรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ การปฏิบัติงานก่อให้เกิดทักษะ แรงจูงใจ และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เรียนที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[ วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะในศตวรรษที่ 21. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4, พิษณุโลก, ประเทศไทย.

คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, รวมบทความทางวิชาการ.

เวสารัช ชูพงศ์ และสิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บกับการเรียนแบบปกติ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14.

ประพรรธน์ พละชีวะ, ธนัชพร เกรซ, มณฑา วิริยางกูร, ชัยวัฒน์ อุ้ยปาอาจ และสิริมาศ แก้วกัณหา. (2566). การพัฒนาทักษะการออกแบบนวัตกรรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำหรับครูโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 13 ฉบับที่ 1. 18-32.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน(กลุ่มหลักสูตรและการนิเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หน่วยศึกษานิเทศก์. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

วัชรินทร์ โพธิ์เงิน, พรจิต ประทุมสุวรรณ และสันติ หุตะมาน. “การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน.” ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. [วรสารออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564].จาก http://202.44.35.11/km/project-based%20learning.pdf

พิพัฒน์ คุณวงค์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. [วรสารออนไลน์] 2561. [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565]. จาก https://pipatkhunwong 2.blogspot. com/2018/02/

ฤตธวัส พินิจนึก. (2564). การออกแบบการเรียนการสอนด้วย ADDIE Model. Ebook(pdf). บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ยุพาวดี ขันทบัลลัง และคณะ. (2565). การพัฒนาและประสิทธิภาพของนวัตกรรมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. ปีที่ 28 ฉบับที่ 1. 1-15.

เจษฎา โพนแก้ว. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันการเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกภาพผ่านมือถือเพื่อการควบคุมหุ่นยนต์เดินตามเส้นขนาดเล็ก. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1. 1-9.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2542). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. [วรสารออนไลน์] 2556. ฉบับที่ 1 ปีที่ 5 : 7-20.

นภสร ยลสุริยัน. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดแบบ STEM EDUCATION เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมพร ปานดำ. (2564). พัฒนาทักษะ เพิ่มทักษะและสร้างทักษะใหม่ สิ่งสำคัญสำหรับคนอาชีวศึกษาในโลกยุคปกติใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการ T-Vet Journal. ปีที่ 5 ฉบับที่ 10. 150-160.

นาตยา สารีโท. (2565). การศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ตามศาสตร์พระราชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดผลิตภาพ. วารสารวิชาการ Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ 8 ฉบับที่ 7. 124-138.

ภูมิพัฒน์ วนพัฒน์พงศ์. (2565). Digital Disruption กับการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้สำหรับโลกยุคใหม่.วารสารวิชาการ T-Vet Journal ปีที่ 6 ฉบับที่ 11. 4-12.