การพัฒนาระบบติดตามการเข้า-ออกสถานประกอบการของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ระดับปริญญาตรีวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โดยการรายงานระบุตำแหน่งบนแผนที่ ADEVELOPMENT OF REAL -TIME LOCATION -BASED TRACKING SYSTEM FOR ENTERING AND STUDENTS IJ DIGITAL BUSINESS TECHNOLOGY AT SUKHOTHAI VOCATIONAL COLLEGE
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนาระบบติดตามการเข้า-ออกสถานประกอบการของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลระดับปริญญาตรีวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยโดยการรายงานระบุตำแหน่งบนแผนที่2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบระบบที่พัฒนาขึ้นและ3) ประเมินความพึงพอใจของระบบโดยเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้แก่ภาษาPHP JavaScript จัดเก็บฐานข้อมูลด้วย MySQL และแสดงผลผ่าน Google Map APIเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจากกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 4 คน และนักศึกษาจำนวน 20 คน รวมจำนวน 24 คน สถิติตที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)ระบบที่พัฒนาขึ้นโดยจัดเก็บฐานข้อมูลด้วย MySQL และแสดงผลผ่านGoogle Map API สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ 2) ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ใช้งานของระบบอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ชำนาญ ปาณาวงษ์, กองแก้ว เมทา, ชวนพิศ เหล็กใหล, พจีพร ศรีแก้ว, และ วัชรีย์ บัวเพ็ง. (2559).รายงานวิจัยเรื่องสาเหตุและแนวทางในการป้องกันการออกกลางคันของนักเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านบางโพธิ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เกรียงศักดิ์ รักภักดี, ปราโมทย์ นามวงศ์, ไมตรี ริมทอง, และวชิระ โมราชาติ. (2560).
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีผ่านระบบดาวเทียมบอกพิกัด. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 84-91.
ปฐมพงษ์ ฉับพลัน, และฐิมาพร เพชรแก้ว. (2010). การประยุกต์ใช้ Google Maps API
ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด. NCIT 2010. สำนักวิชาการสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช.
เสาวนี ศรีสุวรรณ, เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร, และธนัย ตันวานิช.
(2561). การพัฒนาระบบระบุตำแหน่งอุปกรณ์บนทางพิเศษโดยใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,
(1), 42-52
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. และพนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.
(พิมพครั้งที่7)กรุงเทพมหานคร : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ (2564). การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วย
คิวอาร์โค้ดกรณีศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.