การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ A COMPARISON OF SECOND-YEAR HIGH VOCATIONAL CERTIFICATE STUDENTS’ ACHIEVEMENT TOWARD THE LEARNING IN COMPUTER PROGRAMMING THROUGH INSTRUCTIONAL METHOD BASED ON COOPERATIVE LEARNING IN JIGSAW TECHNIQUE AND TRADITIONAL TEACHING METHOD
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ กับนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1/2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จำนวน 65 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน กลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test for independent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
ภาณุพงศ์ แก้วบุญเรือง.(2562). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้เรื่องกฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุฑาทิพย์ เต็ม วิบูลย์ โชค. (2559). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.