รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา THE MODEL FOR DEVELOPING OF TEACHER COUNSELORS IN SUKHOTHAI TECHNICAL COLLEGE UNDER THE OFFICE OF THE VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิค สุโขทัย 2. สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 3. ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 4. เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยา ลัยเทคนิคสุโขทัย โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง การพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และครูของสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีในเรื่องของงานครูที่ปรึกษา จำนวน 3 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย โดยการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจำ นวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการทดลองได้แก่ ครูที่ปรึกษาจำนวน 86 คน โดยแบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ปรึกษาจำนวน 92 คน และผู้เรียนจำนวน 327 คน แบบสอบถาม
ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วิธีการพัฒนาครูที่ปรึกษามี 4 วิธีคือ ด้านการพัฒนาด้วยระบบของประเทศ ด้านการพัฒนาจากหน่วย งานต้นสังกัด ด้านการพัฒนาจากเครือข่ายวิชาชีพ และด้านการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาครูที่ปรึกษามี 5 กระบวนการคือ ด้านการวิเคราะห์ปัญหา ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติตามแผน ด้านการประเมินผล และด้านการพัฒนา องค์ประกอบที่ 3 คุณลักษณะของครูที่ปรึกษา มี 5 ด้านคือ ด้านความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการช่วยเหลือผู้เรียนทางการเรียน และด้านการช่วยเหลือผู้เรียนทางสังคม ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบผู้วิจัยได้นำร่างรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย นำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ฯ โดยจัดสนทนากลุ่มซึ่งผู้ ทรงคุณวุฒิได้วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะหลังจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไข ตามฉันทามติของผู้ทรงคุณวุฒิ จึงได้รูปแบบที่เหมาะสม ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยทั้ง 3 องค์ประกอบกับครูที่ปรึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 86 คน ซึ่งครูที่ปรึกษาได้ทดลองใช้ตามคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัย เทคนิคสุโขทัยพบว่า ครูที่ปรึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2563). อนุสิทธิบัตร เครื่องปอกผิวมะกรูด. กรุงเทพฯ : กรมทรัพย์สินทางปัญญา.
วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. (2565). ผลการประเมินในระบบรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา อาชีวศึกษา SAR ปี 2565. สุโขทัย : วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย.
สินตรา ตรีนุสนธิ์. (2561). ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการดำเนินงาระบบงานครูที่ปรึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์. ศษ.ม.ราชมงคล, ปทุมธานี.
สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว (2560). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัย 100 เรื่อง เพื่อลดจำนวน ผู้เรียนที่ออกกลางคัน ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม. สอศ, : กรุงเทพ ฯ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Dilworth, M.E. and Imig, D.G. (1995). Professional Teacher Development and the Reform Agenda. Massachusetts : Allyn Bacon.
Thomas R. Guskey. (2002). Professional Development and Teacher Change . University of Kentucky.สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค.2564. จาก https://www.resear chga te. net/ publication/ 254934696_Professional/ Development_and_Teacher_Change.
สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ = Human resource development.กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่ .กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Loucks-Horsley, S., Love, N., Stiles, K., Mundry, S., & Hewson, P. (2003). Designing professional development for teachers of science and mathematics. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
พระเอกราช กิตติธโร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตย์. มจฬ., อยุธยา.
สุมิตร สุวรรณ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร. สนพ.ม.เกษตรศาสตร์ : กรุงเทพ ฯ.
Alexandra Joachim , Nur Hannan Haron (2560). Teacher ‘ s Roles as a Counsellor .p 17 Brown, W.B., & Moberg, D.J. (1980). Organization theory and alienation : A macro approach. New York : John Wiley & Sons.
กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2547). คู่มือการให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์. นทบุรี : สนพ.สุขภาพจิต.
สุปราณี จิราณรงค์. (2558). คุณครูประจำชั้นมืออาชีพ. กรุงเทพ ฯ : สนพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนิดา พัฒนโชต. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูมืออาชีพสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณกร ศิริพละ. (2559). รูปแบบการพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. ม.สยาม, กรุงเทพฯ .
สุวัฒน์ งามยิ่ง (2547). คุณลักษณะครูที่ดีของครู-อาจารย์วิทยาลัยสารพัดช่าง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 ภาคกลาง 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มศว., : กรุงเทพฯ.
บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การอุดมศึกษา),บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. กรุงเทพ ฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กัญญานันท์ หินแก้ว. (2558). คุณลักษณะของครูที่ปรึกษาตามทัศนะของนักเรียนและที่พึงประสงค์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ ฯ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ม.บูรพา, ชลบุรี.
ศุภาภัส ห้าวหาญ (2558). การศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
วัชรี ทรัพย์มี. (2547).ทฤษฎีและกระบวนการให้คำปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปูชิตา ศัตรูคร้าม. (2559). คุณลักษณะของครูตามหลักคุรุฐานิยมในทัศนคติของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.