สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 ที่สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐต้องการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นกำลังคนที่มีความต้องการสูงในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ควรพัฒนาในทุกด้านให้ตรงต่อความต้องการของสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐอย่างแท้จริงเพื่อประสิทธิภาพในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างตามความต้องการของตลาดแรงงานด้านธุรกิจการก่อสร้างเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาคนในสาขาวิชาช่างก่อสร้างต่อไป สมรรถนะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญประกอบด้วย สมรรถนะด้านการใช้ทักษะชีวิต (Life Skills) สมรรถนะด้านทักษะ (Skill) สมรรถนะด้านความรู้ (Knowledge) และสมรรถนะด้านการคิด (Thinking) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาคนในสาขาวิชาช่างก่อสร้างต่อไปโดยเฉพาะสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ กงพลี. (2560). กระบวนการคิด. สืบค้นจาก http://ge.vru.ac.th/gevru/wp-content/uploads/2017/06/3-กระบวนการคิด.pdf
สหพัฒน์ ทิพยมาศ. (2561). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “พลังประชารัฐ”. สงขลา: โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2553. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุชาดา ดิษบรรจง. (2540). การศึกษาสภาพการฝึกงานของนักศึกษา ประเภทวิชาบริหารธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพมหานคร.
แสงดาว ถุงคำ. (2553). คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ และทักษะของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท บราโว เอเชีย จำกัด. (ปริญญานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
Maxwell, R. (1981). Life After School: A Social Skills Curriculum. New York: Pregamom International Library.
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than for “Intelligence”. American Psychologist, 28, 1-14.
World Health Organization (WHO). (1994). Community based rehabilitation and the health care referral services : a guide for programme managers. Geneva, Switzerland: World Health Organization (WHO).