การศึกษาแนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุนเข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ 2) จัดทำแนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 180 คน ได้มาจากการเลือกแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การลงเยี่ยมบ้านนักเรียน สังเกตสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.81) และ 2) แนวทางการค้นหาและคัดกรองนักเรียนทุน เข้ารับการศึกษาต่อสายอาชีพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ตั้งคณะกรรมการค้นหา คัดกรองนักเรียนทุน (2) รับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติของนักเรียนทุน (3) ลงพื้นที่ค้นหา คัดกรองนักเรียนทุน และ (4) คัดกรองผ่านระบบ https://vec.thaieduforall.org/
Article Details
References
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล. (2562).[ออนไลน์]. รายงานประจำปี 2562 โอกาสใหม่ทางการศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564] จาก https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2020/04/2004021-EEF-Annual-Report- 2019_revised-09_1_view_single-page.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, (2560) แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). รายงาน “การติดตาม หนุนเสริมการดำเนินงาน สังเคราะห์และถอดบทเรียนการจัดแนะแนวและประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษา วิธีการค้นหา คัดกรองความยากจนและคัดเลือกนักเรียนรับทุน สำหรับสถานศึกษาสายอาชีพทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2563”. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
นคร ชาญอุไร, (2559). เอกสารประกอบการสอน วิชาการวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ละเอียด ศิลาน้อย และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 8 ฉบับที่ 15 หน้า 112–126.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2) หน้า 3-12.
กิตติยา ฤทธิภักดี. (2565). ระบบดูแลช่วยเหลือและการจัดสวัสดิการสำหรับนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง (กสศ.) วิทยาลัยชุมชนสตูล. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4 "ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา. 31 สิงหาคม 2565.
ปรียาภัทร ศรีไกร และธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2565). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL ของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 3 เมืองศรีภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 หน้า 1-12.
ธิติมา พลับพลึง. (2563). การคัดกรองนักศึกษายากจนให้กู้ยืม กยศ. โดยใช้แบบจำลองการให้คะแนนสินเชื่อ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 57-74.
ธันยพร วณิชฤทธา. (2558). การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม ของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 หน้า 1859-1874.
ชนม์พิชา กิตติญาณกุล ญาณิศา บุญจิตร์ และบรรจง เจริญสุข. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนในเครือข่ายนาสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ครุศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ธนากร จันทพันธุ์ สิน งามประโคน และ ลำพอง กลมกูล. (2566). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. หน้า 1-11.