รูปแบบการตีพิมพ์บทความ

1. ประเภทบทความที่รับพิจารณา :
    เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ของนักศึกษาระดับปริญญาโท หรือระดับปริญญาเอก อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

2. ผู้ประสงค์ส่งบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ให้จัดพิมพ์ด้วยแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 15 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 10 - 15 หน้ากระดาษ A4 โดยนับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก

3. รูปแบบการพิมพ์บทความ : ผู้เสนอบทความจะต้องจัดพิมพ์บทความตามรูปแบบ (Template) ที่วารสาร The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences กำหนดเท่านั้น

    Template สำหรับการพิมพ์บทความ

Template บทความวิจัย
Download
Template บทความวิชาการ
Download

4. เนื้อหาในบทความ แบ่งได้ ดังนี้
    4.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ การดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล และรายการอ้างอิง
    4.2 บทความวิชาการ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ ตัวบทความหลัก บทสรุป และรายการอ้างอิง
    4.3 รูปภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ หรืออื่น ๆ ให้แทรกไว้ในเนื้อหาของบทความ ต้องมีหมายเลขกำกับ ในบทความ อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสี หรือขาว – ดำ ที่มีความคมชัด สไลด์ ภาพวาด ควรวาดด้วยหมึกอินเดียนอิงค์ หรือเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ (JPEG, GIF) หรือภาพที่พรินต์จากเครื่องพิมพ์เลเซอร์

5. รายละเอียดการอ้างอิง : ทางวารสารกำหนดให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามรูปแบบ APA (American Psychological Association)
    - ในกรณีที่บทความเป็นภาษาไทย จะต้องทำเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

    5.1 การอ้างอิงในเนื้อหา
          ให้อ้างอิงชื่อสกุลผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งโดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และต่อด้วยปี ค.ศ.ที่พิมพ์ ทั้งเอกสารที่เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยมีรูปแบบดังนี้

         (นามสกุลผู้เขียน, ปีพิมพ์: เลขหน้าที่ปรากฏ)

ตัวอย่างเช่น
         - โสเกรติสย้ำว่าการอ่านสามารถจุดประกายได้จากสิ่งที่นักอ่านรู้อยู่แล้วเท่านั้นและความรู้ที่ได้รับมาไม่ได้มาจากตัวหนังสือ (Manguel, 2003: 127)
         - สุมาลี วีระวงศ์ (Weerawong, 2009: 37) กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะไปสื่อชักผู้ชายมาบ้านเรือนของตัวเองทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้มาสู่ขอนั้น เป็นเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

       เอกสารที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ในการอ้างอิงครั้งแรก ให้ระบุนามสกุลของผู้เขียนทุกคน และเมี่อมีการอ้างอิงในครั้งต่อไป ให้ระบุเพียงนามสกุลของผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. เช่น
       - .....ในขณะที่ Alraimi, Zo, & Ciganek (2015) ได้อธิบายว่า MOOC ให้ความสำคัญกับความเปิดกว้าง..............เช่นเดียวกับ Alraimi et al. (2015) ได้อธิบายว่า ชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นภาพที่สะท้อนต่อคุณภาพ…….

    5.2 การอ้างอิงท้ายบทความ :
          การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความเป็นการระบุข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา (ยกเว้นการสื่อสารส่วนบุคคล เช่น การสื่อสารผ่านอีเมล ข้อความส่วนตัว หรือการสัมภาษณ์ เนื่องจากไม่อาจสืบค้นย้อนหลังได้และเป็นการปกป้องผู้ให้ข้อมูลการวิจัยตามข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์) โดยรูปแบบของรายการอ้างอิงจำแนกตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
        - การระบุผู้แต่ง ให้ใช้นามสกุล ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นสำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ส่วนเอกสารภาษาไทยที่เขียนโดยคนไทยให้ระบุนามสกุล และตามด้วยชื่อเต็ม
        - เอกสารที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ให้วงเล็บชื่อเรื่องภาษาไทยต่อท้ายชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเสมอ
        - ใช้เครื่องหมาย & แทนคำว่า and ในการอ้างอิงเสมอ ทั้งในการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยและเอกสารภาษาต่างประเทศ
        - ทุกรายการที่ยาวเกิน 1 บรรทัด เมื่อขึ้นบรรทัดต่อไปให้เยื้องเข้าไปอีก 8 อักขระ โดยเริ่มที่ตำแหน่งที่ 9

    5.3 หนังสือ

          นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีพิมพ์).\ชื่อหนังสือ\(ครั้งที่พิมพ์).\เมืองที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างเช่น

    5.4 บทความวารสาร

          นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่อวารสาร,\ปีที่(ฉบับที่):\หน้าที่ปรากฏบทความ.

ตัวอย่างเช่น

    5.5 บทความหรือบทในหนังสือ

           นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ\ชื่อบรรณาธิการ,\ชื่อหนังสือ,\ครั้งที่พิมพ์.\(จำนวนหน้า).\เมืองที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างเช่น

          (ในกรณีที่ไม่ปรากฏรายชื่อบรรณาธิการ ให้นำชี่อหนังสือมาต่อได้เลย)

   5.6 วิทยานิพนธ์

          นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีการศึกษา).\ชื่อวิทยานิพนธ์.\ระดับปริญญา,\มหาวิทยาลัย,\เมือง,\ประเทศ.

ตัวอย่างเช่น

    5.7 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

          - หนังสือออนไลน์ (online / e-Book)
            นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].\สืบค้นเมื่อ\เดือน\วัน\ปี\จาก\ แหล่งข้อมูลหรือ URL

ตัวอย่างเช่น

         - บทความจากวารสารออนไลน์ (online / e-journal)
           นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่อวารสาร,\ปีที่(ฉบับที่):\หน้าที่ปรากฏบทความ.\[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].\สืบค้นเมื่อ\เดือน\วัน\ปี\จาก\แหล่งข้อมูลหรือ URL

ตัวอย่างเช่น

    5.8 ฐานข้อมูล

          นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].\สืบค้นเมื่อ\เดือน\วัน\ปี\จาก\แหล่งข้อมูลหรือ URL

ตัวอย่างเช่น

    5.9 การสัมภาษณ์

          นามสกุลผู้ถูกสัมภาษณ์,\ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์.,\ตำแหน่งหน้าที่.\สัมภาษณ์,\เดือน\วัน\ปีที่สัมภาษณ์.

ตัวอย่างเช่น