องค์ประกอบของเมืองเก่า และการประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรัง (The Old Town Boundary Identification of Trang and its Elements.)

Authors

  • ตรีชาติ เลาแก้วหนู (Treechart Loakaewnoo) naresuan university
  • สิริวรรณ สุโอฬาร (Siriwan Suolan) กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ปวีณ์ริศา อาจสาลี (Paweerisa Ardsalee) กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์ (Pat Wongpradit) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เกรียงไกร เกิดศิริ (Kreangkrai Kirdsiri) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ทิพวัลย์ ตั้งพูนทรัพย์ศิริ (Tippawan Tangpoonsupsiri) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุพจน์ จิตสุทธิญาณ (Supot Chitsutthiyan) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อิสรชัย บูรณะอรรจน์ (Isarachai Buranaut) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สิริชัย ร้อยเที่ยง (Sirichai Roythieng) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

1. Old town boundary identification 2. Old town element 3. Trang old town

Abstract

การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรังตามประกาศขอบเขตตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า โดยศึกษาองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ของเมืองเก่า และวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาจัดทำร่างขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า จากนั้นจึงนำผลการศึกษาไปสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างครบถ้วน เป็นไปตามแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนด เมื่อได้ข้อคิดเห็นแล้วจึงนำมาปรับปรุงเพิ่มเติมตามที่มีข้อเสนอแนะ เพื่อนำขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรังที่ครอบคลุมทำเลที่ตั้งขององค์ประกอบของเมืองอย่างครบถ้วน และมีขนาดที่มีความเหมาะสม โดยได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์โดยใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า และนำผลการศึกษาเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่า และคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเพื่อพิจารณาและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรังต่อไป

               การศึกษาองค์ประกอบของเมืองเก่า และการประเมินคุณค่า พบว่า “แหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ” จำนวน 5 แหล่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และ “สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม” จำแนกเป็น พุทธศาสนสถาน 9 แห่ง ศาลเจ้าจีน 3 แห่ง คริสต์ศาสนสถาน 1 แห่ง และมัสยิด 1 แห่ง, “อนุสรณ์สถาน จุดหมายตา สวนสาธารณะ และอาคารสาธารณะที่สำคัญ” 6 แห่ง และ “มรดกสถาปัตยกรรม” 15 แห่ง และประเมินศักยภาพของแหล่งองค์ประกอบของเมืองเก่าตรัง ได้ดังนี้ คือ แหล่งที่มีศักยภาพปานกลาง มี 27 แหล่ง และแหล่งที่มีศักยภาพสูง มี 13 แหล่ง

                    สำหรับขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรังมีเนื้อที่ประมาณ 1.91 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,192.95 ไร่ และขอบเขตพื้นที่ต่อเนื่อง (Buffer Zone) ซึ่งอยู่โดยรอบพื้นที่เมืองเก่าตรัง มีเนื้อที่รวมประมาณ 4.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,528.92 ไร่ ซึ่งได้ดำเนินการเสนอต่อคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าเพื่อนำไปสู่แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาในมิติต่างๆ อย่างยั่งยืนต่อไป

Downloads

Published

2021-06-30

Issue

Section

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ