การศึกษาและพัฒนากระบวนการใช้ประโยชน์จากเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน Study and development of process utilization from the vines in the area of forest communities to apply to product design community

Main Article Content

ศรุต ลูกบัว
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

Abstract

               การศึกษาและพัฒนากระบวนการใช้ประโยชน์ จากเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์
ชุมชน โดยมีจุดประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จากเถาวัลย์ ในพื้นที่ป่าชุมชน 2) เพื่อออกแบบ
และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์ ในพื้นที่ป่าชุมชน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิตหัตถกรรมชุมชน ผู้
จำหน่าย และผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน โดยใช้วิธีการสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อเก็บ
ข้อมูลและสัมภาษณ์ประชากรในพื้นที่ ได้แก่ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ชาวบ้านและ นักวิชาการในท้องถิ่น จากนั้นนำข้อมูลที่
ได้มาเรียบเรียงและวิเคราะห์ร่วมกับการออกแบบ โดยเริ่มจากการวาดภาพร่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเถาวัลย์ใน
ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และสวยงามในแบบลายเส้นสายของเถาวัลย์ แล้วจึงพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ทฤษฎีการ
กระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ วิศวกรรมย้อนรอย และประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบและ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อจัดทำต้นแบบของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของขั้นตอน
สุดท้าย คือการประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้สนใจ ได้ผลสรุปในด้านการออกแบบ ด้านวัสดุ
กรรมวิธีการผลิต และด้านประโยชน์ใช้สอย พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 4.32) ส่วนค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.54) จากผลการประเมินความความพึงพอใจของผู้ผลิตผู้จำหน่ายที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์
ในพื้นที่ป่าชุมชน ในด้านต่าง ๆ ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ผลรวมการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ผลิตที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์
ในพื้นที่ป่าชุมชน มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 3.80) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.50) จากผล
การประเมินความความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน ในด้าน
ต่าง ๆ ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ผลรวมการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ที่สนใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน มี
ความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 4.32) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.54) ผู้ประเมินมีความพึงพอใจใน
ระดับมากที่สุด ต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมชน ถือได้ว่าค่าความพึงพอใจสอดคล้องกับหัวข้องานวิจัยที่ได้รับการ
ออกแบบและพัฒนาแล้ว มีความเหมาะสมที่จะเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเถาวัลย์ในพื้นที่ป่าชุมช

Article Details

Section
บทความวิจัย