การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาหร่ายพวงองุ่นจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมขวัญ เมฆสุข สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สวรรยา ธรรมอภิพล สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

สาหร่ายพวงองุ่น, ห่วงโซ่คุณค่า, ต้นน้ำ-ปลายน้ำ, มูลค่าเพิ่ม

บทคัดย่อ

สาหร่ายพวงองุ่น เป็นพืชเศรษฐกิจ มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูงจึงเป็นที่นิยมในการบริโภคสำหรับผู้ที่รักการใส่ใจในสุขภาพ ดังนั้นการบริโภคสาหร่ายพวงองุ่นจึงเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารที่ได้จากธรรมชาติ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาโรคโดยไม่จำเป็น ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดสูง มีราคาแพง แต่เนื่องจากเกษตรกร/ผู้ประกอบการในชุมชนที่จำกัดบทบาทของตนเองอยู่เฉพาะในขั้นตอนการผลิต ส่วนใหญ่ขาดทักษะและองค์ความรู้ในด้านธุรกิจเพื่อจัดการกิจกรรมต่อเนื่อง
ในห่วงโซ่คุณค่า จากต้นน้ำ ก่อนการผลิต (Inbound Logistics) คือ การวางแผนจัดหาวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตจนถึงขั้นปลายน้ำ การเก็บเกี่ยว รวบรวม และกระจายสินค้าจนถึงลูกค้าปลายทาง (Outbound Logistics)ทำให้เก็บเกี่ยวมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ได้น้อย ซึ่งปัจจุบันผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง เป็นผู้ควบคุมและจัดการรับผลผลิตสาหร่ายพวงองุ่นจากเกษตรกร /ผู้ประกอบการ โดยตรงและจัดจำหน่ายเอง จึงทำให้มูลค่าเพิ่มของสาหร่ายพวงองุ่นที่อยู่ในขั้นตอนเหล่านี้ไม่ตกอยู่กับมือของเกษตรกร/ผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสาหร่ายพวงองุ่นให้กับเกษตรกร/ผู้ประกอบการด้วยการนำทฤษฎีห่วงโซ่คุณค่ามาปรับใช้ให้เหมาะสม สามารถประหยัดการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาหร่ายพวงองุ่นได้อย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29