ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • ตวงพร กตัญญุตานนท์
  • ณัฐณิชา อัศวภูมิ
  • รัตนภรณ์ พรหมสุวรรณ
  • สราลี เพียรศิลป์
  • สิรินภา ดวงสีเขียว
  • ธนาภา ล่องลอย
  • พรไพลิน คำแก้ว

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล
กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 168 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบ
แบ่งชั้นภูมิตามเพศ และชั้นปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม-
ธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ
ไคว์สแควร์ และสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

ผลการวิจัยพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก (–x=4.10,
SD=0.56). ในรายด้านประกอบด้วย ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรง
บันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล อยู่ในระดับมาก
ทั้งหมด ปัจจัยด้านตัวผู้นำ พบว่า ลำดับบุตร มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ
นักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ความฉลาดทางอารมณ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การมี
มนุษยสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการ
เปลี่ยนแปลงของนักศึกษาทางสถิติ ปัจจัยด้านผู้ร่วมงาน พบว่า ความสามารถในการทำงาน ความ
ใส่ใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษา
การเรียนการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กุหลาบ ปุริสาร. (2561). แนวทางพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สู่ผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารใน
ศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 1-9.
กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บี.เค.อินเตอร์ปริ้นท์.
กรองทิพย์ นาควิเชตร และคณะ. (2557) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัย
เอกชน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 20(2), 37-45.
กัลย์ ปิ่นเกษร และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการ
ทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร
ธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 27-39.
ฉลอง คุณประทุม. (2555). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาโรงเรียนวัฒนพฤกษา
บริหารธุรกิจ. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16, 83-92.
ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
---------. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณภัทร ทองมั่ง, อภิชาต ใจอารีย์, และประสงค์ ตันพิชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำของนิสิตระดับ
ปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 12(1), 193-207.
ณัฎฐา อุ่ยมานะชัย. (2551). ลำดับการเกิดและการยอมรับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ. ปริญญานิพนธ์นิเทศ
ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทันยา สุขแสงทอง และคณะ. (2556). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของนักศึกษาสาขาการจัดการโรงพยาบาล
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สมุทรปราการ:
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ธนินทร์ รัตนโอฬาร. (2553). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ : การประยุกต์ใช้โมเดลการวัดเชิงก่อตัวและ
เชิงสะท้อน. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนินทร์ รัตนโอฬาร, วรรณี แกมเกตุ, และสุวิมล ว่องวาณิช. (2556). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้าง
พหุระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(2), 141-154.
ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ขาวเวียง, และนฤมล จันทรเกษม. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา
พยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มรจ, 5(1), 357-369.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2560). การวิจัยทางสาธารณสุข: จากหลักการสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปัทมา สุพรรณกุล. (2561). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยด้านสาธารณสุข. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พนิดา ไชยแก้ว. (2559). อิทธิพลภาวะผู้นำของ Generation Y ต่อความสำเร็จทางธุรกิจ กรณีศึกษา
ผู้ประกอบการกลุ่ม Generation Y.ในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิลักษณ์ระวี ระหว่างบ้าน และ บุญใจ ศรีสถิตย์นราดูร. (2558) ศักยภาพโดดเด่นของผู้บริหารทางการ
พยาบาลระดับสูง โรงพยาบาลทั่วไป. วารสารพยาบาลเกื้อการุณย์, 22(1), 35-47.
พาณี สีตกะลิน, (2558). ผู้นำกับการบริหารโรงพยาบาล. จุลสารสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์. 1, 1-3.
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2551). การศึกษาปัจจัยทางชีวสงั คมทมี่ อี ทิ ธพิ ลต่อภาวะผ้นูำเปลยี่ นสภาพของนกั ศกึ ษา
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. BU Academic Review, 7(2), 1-8.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้น?ำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่ายๆบางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัย
ศึกษา, 1(3), 8-11.
วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
สาขาวิชาการบริหารโรงพยาบาล. (2556). หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
โรงพยาบาล หลักสูตรปรับปรุง 2556. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
สุวัฒน์ เฮงสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหา
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพัตรา วัชรเกตุ. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง : สิ่งที่ท้าทายผู้นำทางการพยาบาล. วารสารพยาบาล
ทหารบก, 15(3), 58-63.
สรายุทธ์ เศรษฐขจร. (2553). เทคนิคการสร้างผู้นำ. วารสารวิชาการปทุมธานี, 2(2), 235-239.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สิริพร มีผดุง, นันทิยา น้อยจันทร์ และสายทิพย์ ยะพู. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การจัดกิจกรรมนักศึกษา
เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักศึกษาพลศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 207-224.
สมชาย เทพแสง. (2556). ภาวะผู้น?ำสมดุล:รูปแบบของผู้นำในคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการ
ศึกษา, 13(24), 131-140.
อารีรัตน์ โฮมประเสริฐ. (2560). ระดับภาวะผู้น?ำของนักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฎเลย. เลย: สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
Brown, E.A., & Arendt, S.W. (2011). Perceptions of Transformational Leadership Behaviors and
Subordinates’ Performance in Hotel. Journal of Human Resources in Hospitality and
Tourism, 10(1), 45-49.
Cavazotte, F., Moreno, V., & Bernardo, J. (2013) Transformational Leaders and Work
Performance: The Mediating Roles of Identification and Self-efficacy. BAR-Brazilian Administration
Review, 10(4), 490-512.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for Research Activities. Educational
and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Samad, S. (2012). The Influence of Innovation and Transformational Leadership on Organizational
Performance. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 57, 486–493.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-24

How to Cite

กตัญญุตานนท์ ต., อัศวภูมิ ณ., พรหมสุวรรณ ร., เพียรศิลป์ ส., ดวงสีเขียว ส., ล่องลอย ธ., & คำแก้ว พ. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารบริหารธุรกิจและการจัดการปริทัศน์, 11(2), 51–68. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/231118