คุณค่าด้านการสื่อสารของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชี ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

作者

  • วณิชชา อินทกูล ศูนย์ความเป็นเลิศทางฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จอมใจ แซมเพชร Assistant Professor Dr.
  • วนิสรา สุวรรณมงคล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

关键词:

คุณค่าด้านการสื่อสาร, ความสามารถในการอ่าน, โทนของเนื้อหา, เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ, รายงานของผู้สอบบัญชี

摘要

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ออกมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 701 การสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยให้ถือปฏิบัติกับการตรวจสอบงบการเงินสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มาตรฐานดังกล่าวกำหนดให้ผู้สอบบัญชีต้องสื่อสารเรื่องที่มีนัยสำคัญที่สุดที่พบจากการตรวจสอบงบการเงินในรายงานของผู้สอบบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาช่องว่างของข้อมูลระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้ใช้งบการเงินดังที่เคยเกิดขึ้นกับรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบเดิม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าด้านการสื่อสารของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมจากรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของบริษัทในกลุ่มธุรกิจบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี 2558-2560 จำนวนทั้งสิ้น 304 ข้อมูล คุณค่าด้านการสื่อสารพิจารณาจาก 2 รูปแบบ คือ ความสามารถในการอ่านและโทนของเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รายงานของผู้สอบบัญชีที่มีวรรคเรื่องสำคัญในการตรวจสอบอ่านง่ายกว่ารายงานของผู้สอบบัญชีที่ไม่มีวรรคเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ แต่อย่างไรก็ดีรายงานของผู้สอบบัญชีทั้ง 2 รูปแบบมีโทนของเนื้อหาไม่แตกต่างกัน

参考

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2552). การสื่อสารของรายงานของผู้สอบบัญชี: กรณีร่างรายงานของผู้สอบบัญชีแบบใหม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(13), 31-53.

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2558ก). ประเด็นสำคัญและการประยุกต์แนวคิดเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(32), 112-127.

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2558ข). คุณค่าของรายงานผู้สอบบัญชีแบบใหม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(31), 26-44.

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2560). การใช้รายงานของผู้สอบบัญชีแบบใหม่: ประสบการณ์ปีแรก. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(38), 5-21.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). สรุปจำนวนหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560, จาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว็บไซต์ https://www.set.or.th /set/marketstatistics.do

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. (2558). ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จากศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ http://www.aseanthai.net/ewt_ news.php?nid=4552&filename =index

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2560). “เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ” ในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีกับการตอบสนองของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(38), 22-37.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 701 การสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ เว็บไซต์ http://www.fap.or.th/upload/9414/4x9uV7 CGE1.pdf

สมพงษ์ พรอุปถัมภ์ และ ธัญลักษณ์ วิจิตรสาระวงศ์. (2557). ร่างรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่:ความท้าทายของผู้สอบบัญชีและผู้ใช้รายงาน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 36-54.

Baskerville, R. F., hÓgartaigh, C. and Porter, B. A. (2018). The perceived message in the audit report – An experimental exploration, Working Paper. Retrieved December, 15 2018, from SSRN Website: https://papers.ssrn. com/sol3/papers.cfm ?abstract_id=1634478

Christensen, B. E., Glover, S. M. and Wolfe, C. J. (2014). Do critical audit matter paragraphs in the audit report change nonprofessional investors’ decision to invest? Auditing: A Journal of Practice & Theory, 33(4), 71-93.

De Franco, G., Hope, O. -K., Vyas, D. and Zhou, Y. (2015). Analyst report readability. Contemporary Accounting Research, 32, 76-104.

Gray, G. L., Turner J. L., Coram, P. J. and Mock, T. J. (2011). Perceptions and misperceptions regarding the unqualified auditor's report by financial statement preparers, users, and auditors. Accounting Horizons, 25(4), 659-684.

Gunning, R. (1952). The Technique of Clear Writing. New York: McGraw-Hill.

Hatherly, D., Brown, T. and Innes, J. (1998). Free-form reporting and perceptions of the audit. British Accounting Review, 30, 23-38.

Henry, E. (2008). Are investors influenced by how earnings press releases are written? Journal of Business Communication, 45, 363-407.

Li, F. (2008). Annual report readability, current earnings and earnings persistence. Journal of Accounting and Economics, 45, 221-247.

Loughran, T. and McDonald, B. (2014). Measuring readability in financial disclosures. The Journal of Finance, 69(4), 1643-1671.

Matsumoto, D., Pronk, M. and Roelofsen, E. (2011). What makes conference calls useful? The information content of managers’ presentations and analysts’ discussion sessions. The Accounting Review, 86, 1383-1414.

Porter, B., hÓgartaigh, C. and Baskerville, R. (2009). Report on research conducting in the United Kingdom and New Zealand in 2008 investigating the audit expectation-performance gap and users’ understanding of, and desired improvements to, the auditor’s report. Report prepared for AICPA’s ASB and IAASB. Retrieved December 15, 2018, from International Federation of Accountants Website: http://www.ifac.org/system/files/downloads/Porter_et_al_Final_Report_ Combined.pdf

Sirois, L. P., Bédard, J. and Bera, P. (2018). The Informational Value of Key Audit Matters in the Auditor's Report: Evidence from an Eye-Tracking Study. Accounting Horizons, 32(2), 141-162.

Smith, J. E. and Smith, N. P. (1971). Readability: a measure of the performance of the communication function of financial reporting. The Accounting Review, 46, 552-561.

Smith, K. W. (2017). Tell me more: a content analysis of expanded auditor reporting in the United Kingdom, Working Paper. Retrieved December 15, 2018, from SSRN Website: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2821399

Vanstraelen, A., Schelleman, C., Meuwissen, R. and Hofmann, I. (2012). The audit reporting debate: seemingly intractable problems and feasible solutions. European Accounting Review, 21(2), 193-215.

##submission.downloads##

已出版

2020-06-25

栏目

Research Articles