สถานการณ์ ปริมาณ อัตราการเกิด และองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนเมืองและชุมชนชนบท กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
关键词:
ขยะมูลฝอยชุมชน, อัตราการเกิดขยะ, องค์ประกอบขยะ , ชุมชนเมือง , ชุมชนชนบท摘要
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปริมาณ อัตราการเกิด องค์ประกอบขยะและเปรียบเทียบปริมาณ อัตราการเกิดและองค์ประกอบขยะชุมชนเมืองและชนบท จังหวัดสมุทรสงคราม ศึกษาสถานการณ์ขยะจากข้อมูลทุติยภูมิขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาปริมาณขยะโดยวิธีการชั่งน้ำหนักขยะ ศึกษาอัตราการเกิดขยะจากปริมาณขยะต่อวันต่อจำนวนประชากรในพื้นที่ทั้งหมด ศึกษาองค์ประกอบขยะโดยวิธี Quatering เปรียบเทียบปริมาณอัตราการเกิดและองค์ประกอบของขยะชุมชนเมืองและชนบทโดยใช้สถิติ independent sample t-test
ผลการศึกษา สถานการณ์ปริมาณขยะชุมชนเมือง ปี 2556-2561แนวโน้มไม่ชัดเจน เฉลี่ยที่ 30,951กก./วัน ปริมาณขยะชุมชนชนบทแนวโน้มเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 8,117 กก./วัน ปริมาณขยะชุมชนเมืองและชนบท เท่ากับ 33,018.33 และ 10,337.99 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อัตราการเกิดขยะชุมชนเมืองและชนบท เท่ากับ 1.18 และ 0.37 กิโลกรัม/คน/วัน ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบของขยะชุมชนเมืองและชนบท ส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์และขยะย่อยสลายได้ ตามลำดับ ชุมชนเมืองมากกว่าชนบท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขยะรีไซเคิลของชุมชนเมืองน้อยกว่าชนบทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปริมาณขยะทั่วไปไม่มีความแตกต่างกัน
参考
กรมควบคุมมลพิษ. (2558). คู่มือประชาชนการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มมูลค่า. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564).กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559.กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
. (2562). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561.กรุงเทพฯ: หจก.ส.มงคลการพิมพ์.
. (มปป). คู่มือแนวปฏิบัติการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. (2561). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2560-2562).สมุทรสงคราม:เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). (2559, 30 ธันวาคม).ราชกิจจานุเบกษา,133(ตอนที่ 115 ก),108.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม).ราชกิจจานุเบกษา,135(ตอนที่ 82 ก),59.
วินัย มีแสง. (2559).แนวโน้มองค์ประกอบและปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ตําบลสามพร้าวอําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.วารสารสมาคมนักวิจัย,21(3),211 - 220.
สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่กลอง. (2561).แผนพัฒนาชุมชน (2561-2564).สมุทรสงคราม : สภาองค์กรชุมชนตำบลแม่กลอง.
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน. (2560). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2560-2562). สมุทรสงคราม :องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน.
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน. (2560). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2560-2562).สมุทรสงคราม : องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน.
องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน. (2560). เอกสารสำเนาเย็บเล่ม.สมุทรสงคราม :องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน.
องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง. (มปป).เอกสารสำเนาเย็บเล่ม.สมุทรสงคราม :องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง.
อุทิศ ดวงผาสุข และ สันติธร ภูริภักดี. (2561).การให้ความหมายและสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในสังคมชนบทแบบวิถีชีวิตชาวสวน กรณีศึกษาตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,11(1), 1175 - 1194.
อรทัย จิตไธสง และ มณีรัตน์ สุตันตั้งใจ.2560. ศึกษาปริมาณและองคประกอบของขยะมูลฝอยในชวงฤดูแล้งบริเวณตลาดสดในเขตเทศบาลเมืองเลย อําเภอเมือง จังหวัดเลย.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0”,4 พฤษภาคม 2560ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.
Abdalquade,A., &Hamad,J.(2012). Municipal Solid Waste Composition Determination Supporting the Integrated Solid Waste Management in Gaza Strip. International Journal of Environmental Science and Development, 3(2),172-176.
##submission.downloads##
已出版
##submission.howToCite##
期
栏目
##submission.license##
##submission.copyrightStatement##
##submission.license.cc.by-nc-nd4.footer##บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารธุรกิจปริทัศน์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว