การประยุกต์ใช้แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
关键词:
แผนภูมิสายธารคุณค่า , แนวคิดลีน , กระบวนการผลิต , ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์摘要
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดปริมาณงานรอในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์ของบริษัทกรณีศึกษา การศึกษาเริ่มจากการศึกษาขั้นตอนการผลิต รวบรวมข้อมูลปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์ และใช้แผนภูมิแสดงเหตุและผลในการคัดเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการผลิตสูงสุดเพื่อมาจัดทำแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าในสถานการณ์ปัจจุบัน จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์สาเหตุของความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตพร้อมทั้งเสนอแนวทางปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและจัดทำแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าในสถานะอนาคต
ผู้วิจัยได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ข้อเหวี่ยงลูกสูบที่มีปริมาณการผลิตสูงสุด 4 รุ่น มาทำการวิเคราะห์แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า ผลการศึกษาพบว่ามีจุดที่มีปริมาณงานรอระหว่างกระบวนการผลิต 4 จุด ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแนวคิดแผนผังก้างปลาและเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลการจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตพบว่าเวลารวมของกระบวนการทำงานลดลงจาก 618 นาที เป็น 583 นาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 5.6 และเวลานำของการผลิตลดลงจาก 18.21 วัน เป็น 10.84 วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 40.47
参考
กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) (2564). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2563. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564, จาก สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เว็ปไซต์: https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2 /files/Industry%20conditions/Q4-2563.pdf
กัญจน์นรี จิตต์ธนานันท์, นุศราพร เกษมสมบูรณ์ และนิวัฒน์ นัตสถาพร. (2560). การใช้แผนที่สายธารคุณค่าเพื่อพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายยาภายในโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 13(4), 50-62.
ธารชุดา พันธ์นิกุล, ดวงพร สังฆะมณี และปรีดาภรณ์ งามสง่า. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษา: โรงงานประกอบรถจักรยาน. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2557. 30-31 ตุลาคม 2557 จังหวัดสมุทรปราการ.
ประภัสสร ตันติพพันธุ์วดี, อาณัติ ศิริปัญญา, พัชรพงศ์ ปัญญาคุนานนท์, พศิษฐ์ ธนาโชติอนันต์กุล, นันทชัย ว่องปฏิเวธ, สุจินต์ พวงมาลัย และสิริวัฒน์ ไวยนิตย์ (2563) ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยลีน ซิกส์ซิกม่า และลีนอัตโนมัติ. Naresuan University Engineering Journal, 15(2), 47-64.
รมิตา มุสิกพงศ์. (2558). การประยุกต์ใช้แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่าในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของธุรกิจพลาสติกฟิล์ม: กรณีศึกษาบริษัท TPK. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วธัญญู ทัศนเอี่ยม. (2556). การเปรียบเทียบการปรับปรุงกระบวนการทำงานระหว่างแนวคิดลีนและแนวทางลีน-ทีคิวเอ็ม ในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562 – 2564 : อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564, จาก วิจัยกรุงศรี เว็ปไซต์: https://www.krungsri.com/th/
research/industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/Motorcycles/IO/io-motorcycles-20
สุรีย์รัตน์ พงศ์กิตติทัต, วันชัย แหลมหลักสกุล และนราธิป แสงซ้าย. (2555). การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับเครื่องปรับอากาศภายในรถยนต์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555. 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี.
Sarawat, P., Kumar, D., and Sain, M.K. (2015) Reduction of Work in Process Inventory and Production Lead Time in a Bearing Industry Using Value Stream Mapping Tool. International Journal of Managing Value and Supply Chain (IJMVSC), 6(2), 27-35.
##submission.downloads##
已出版
##submission.howToCite##
期
栏目
##submission.license##
##submission.copyrightStatement##
##submission.license.cc.by-nc-nd4.footer##บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารธุรกิจปริทัศน์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว