การใช้เทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 ในงานบริการสารสนเทศของห้องสมุดและ ศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

Main Article Content

มุจรินทร์ วุฒิกุล
ศุมรรษตรา แสนวา
สมรักษ์ สหพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้งาน ปัญหา และอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 ในงานบริการสารสนเทศของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศ จำนวน 20 คน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีการนำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 มาใช้ในการบริการสารสนเทศ ตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป จำนวน 15 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์


       ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแผนการดำเนินงานด้านโครงสร้างเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน แต่ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการนำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 มาใช้ในหน่วยงาน ด้านการบริการสารสนเทศ พบว่า ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศทุกแห่งมีการนำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 ประเภทเฟซบุ๊กมาใช้งาน ประเภทงานบริการสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0


มาประยุกต์ใช้งาน ได้แก่ บริการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรม บริการตอบคำถาม บริการแนะนำทรัพยากรใหม่ บริการพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และบริการจัดแบ่งประเภทเนื้อหา ด้านผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจและมีการตอบรับที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 มาใช้ในงานบริการ ด้านผู้ปฏิบัติงาน มีความเห็นว่าการนำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 มาใช้ในงานบริการเป็นประโยชน์ต่อห้องสมุดและผู้ใช้บริการที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วและสามารถเข้าถึงบริการของห้องสมุดได้ทุกที่ทุกเวลา ด้านปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 มาใช้ในงานบริการสารสนเทศ คือ ความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้ใช้บริการที่มีความต้องการในการใช้เทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานคือ ความล่าช้าของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความปลอดภัยในระบบข้อมูล และความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ และแนวทางการแก้ไขคือ มีการตรวจสอบและปรับปรุงระบบเครือข่ายอยู่เสมอ ตรวจสอบระบบความปลอดภัยและสำรองข้อมูลเป็นประจำ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนเผยแพร่


This study aimed to investigate the use of Library 2.0 technologies for information services at scientific and technological libraries and information centers in the Bangkok Metropolitan Area. The samples consisted of 20 librarians or information professionals selected by using the purposive sampling from 15 libraries that used one or more types of Library 2.0 technology. The data were collected by using interviews.


       The results of this study revealed that Library and Information Science and Technology Centers in the Bangkok Metropolitan Area had a basic technology infrastructure policy. However, there was no clear policy on the use of Library 2.0 technology in terms of information services. It was found that the most commonly used Library 2.0 technology were Facebook. The Information services applied the Library 2.0 technology for the purposes of announcing library news and events, online reference services, the introduction of new resources, comments and suggestions and the distribution of content in blogs, wikis and the library website. The majority of users pay attention and have a good response to the Library 2.0 technology used in the services. In terms of the staff, they thought that the use of Library 2.0 technology is beneficial to libraries and users who need convenience and speed, and they can access to library services anywhere and anytime. The factor of success in terms of applying Library 2.0 technology in information services is the cooperation between libraries and users. The problems and obstacles in operational terms is the low speed of the Internet connection, information security and the accuracy of the information. And finally, the solution is to monitor and improve the network, check the safety system, back up data regularly, and verify the accuracy of the information before publishing.

Article Details

Section
Research Articles