Occupational Productivity Differences of Thai Old Aged Labors
Main Article Content
Abstract
This paper aims to examine the effects of the occupation on the labor productivity of Thai old aged labors as compared to the younger ones. The study used the matched employer-employee data model to estimate the labor productivity, of which the employer data were obtained from the business survey in the Manufacturing sector and the Trade and Services sector. The employee data were obtained from the Labor Force Survey by National Statistical Office (NSO). The estimated results from the model show that the labors with different occupations and skills have different scale and speed of decline in productivity reduction when they enter old age. Those working in the same economic sector but different occupationsand skill sets, have similar age-productivity profiles. The ability to work in a long period of the old aged labors employed in the same occupation in different sectors is not equal. In conclusion, changesin labor productivity over the agevaries depending on the type of occupation and the sector in which the labor is employed. The old aged labors with skilled occupations have the ability to work longer than the unskilled ones. The productivity of the unskilled labors in the Trade and Services sector decreases faster than the unskilled labors in the Manufacturing sector. Hence, appropriate occupations and sectors of the employees should be taken into consideration when the government plans for the measures to enable old aged workers to work longer.
ความแตกต่างทางอาชีพต่อผลิตภาพของแรงงานสูงอายุไทย
บทความนี้มุ่งศึกษาผลของอาชีพแรงงานต่อผลิตภาพของแรงงานสูงอายุไทยโดยเปรียบเทียบกับแรงงานวัยหนุ่มสาว งานศึกษานี้ใช้แบบจำลองที่เชื่อมต่อข้อมูลนายจ้างและลูกจ้างในการประมาณค่าผลิตภาพของแรงงาน โดยข้อมูลนายจ้างมาจากการสำรวจสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการค้าและบริการ และข้อมูลลูกจ้างมาจากข้อมูลการสำรวจการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติการประมาณการจากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่า แรงงานที่ประกอบอาชีพที่มีทักษะแตกต่างกันเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีขนาดและความเร็วในการลดลงของผลิตภาพที่แตกต่างกัน โดยแรงงานที่ทำงานในภาคเศรษฐกิจเดียวกันแต่มีอาชีพและทักษะที่แตกต่างกันนั้นจะมีโครงร่างผลิตภาพตามอายุที่คล้ายคลึงกัน ส่วนแรงงานสูงอายุประกอบอาชีพเดียวกันแต่ทำงานในภาคเศรษฐกิจที่ต่างกัน มีความสามารถที่จะทำงานต่อไปอีกได้ในระยะเวลาที่ยาวนานไม่เท่ากัน สรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานตามอายุจึงขึ้นอยู่กับทั้งอาชีพของแรงงานและภาคเศรษฐกิจที่แรงงานทำงานอยู่ด้วย โดยแรงงานสูงอายุที่ประกอบอาชีพที่มีทักษะมีความสามารถทำงานต่อไปได้ยาวนานกว่าแรงงานสูงอายุที่ไร้ทักษะ ส่วนผลิตภาพของแรงงานไร้ทักษะในภาคการค้าและบริการลดลงเร็วกว่าแรงงานไร้ทักษะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้น หากภาครัฐจะใช้มาตรการเพื่อสนับสนุนให้แรงงานทำงานได้ยาวนานขึ้น ก็ควรต้องคำนึงถึงความเหมาะสมต่ออาชีพ และภาคเศรษฐกิจที่แรงงานทำงานอยู่ด้วย
Article Details
The manuscript submitted for publication must be the original version, submitted only to this particular journal with no prior acceptance for publication elsewhere in other academic journals. The manuscript must also not violate the copyright issue by means of plagiarism.