The Approach to Develop Value Chain to Enhance the Management Efficiency of Thai Tour Operators in order to Support Free Trade within the Framework of ASEAN Cooperation
Main Article Content
Abstract
The objective of this research was to study the approach to develop a value chain to enhance the management efficiency of Thai Tour Operators in order to support free trade within the framework of ASEAN cooperation. The method of the study was the quantitative techniques. The sample size was 300 respondents selected using the simple random sampling technique. The statistics used in this study were frequency, mean, and standard deviation.
The results of the study revealed that;
1) Nine main activities for the value chain, respectively, were; 1. human resource management; management; 2. marketing and sales; 3. customer service; 4. firm infrastructure; 5. technology development; 6. inbound logistics; 7. Operations; 8. outbound logistics; and 9. service.
2) Six mains factors of developing the value chain, in order, were; 1. ability to serve support activities in the value chain; 2. ability of primary activities; 3. proficiency in foreign languages; 4. development of website that enabling access and impressiveness; and 5. cooperation of network/alliance; and 6. knowledge about ASEAN countries
3) Four approaches to development of the value chain, were; 1. providing excellence service; 2. creating value of innovation; 3. building competitive advantage; and 4. linking relationships among activities/jobs.
แนวทางการพัฒนาโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของการบริษัทนำเที่ยวของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าตามกรอบความร่วมมือของอาเซียน
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของบริษัทนำเที่ยวของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าตามกรอบความร่วมมือของอาเซียน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารระดับกลาง ระดับต้น และพนักงานของบริษัทนำเที่ยว จำนวนกลุ่มตัวอย่างคือ 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย สถิติที่ใช้ คือ วิธีหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยมีดังนี้
1) ความสำคัญของกิจกรรมในโซ่คุณค่า 9 กิจกรรม เรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. การตลาดและการขาย 3. การบริการลูกค้า 4. โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท 5. การพัฒนาเทคโนโลยี 6. ปัจจัยนำเข้า 7. การจัดหาเพื่องานบริการ 8. กระบวนการปฏิบัติงาน และ 9. คุณภาพงานก่อนส่งมอบการบริการให้ลูกค้า
2) ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาโซ่คุณค่า มี 6 ปัจจัย โดยเรียงลำดับดังนี้ 1. ความสามารถในการบริการจัดการกิจกรรมสนับสนุนในโซ่คุณค่า 2. ความสามารถหลักด้านการบริการ 3. ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ4. การพัฒนาเว็บไซต์ที่เข้าถึงง่ายและดึงดูดใจ 5. ความร่วมมือเครือข่าย/พันธมิตร และ 6. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน
3) แนวทางการพัฒนามี 4 ด้าน ดังนี้ 1. การบริการที่เป็นเลิศ 2. การสร้างนวัตกรรมเชิงคุณค่า 3. การสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน และ 4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกิจกรรม/งาน
Article Details
The manuscript submitted for publication must be the original version, submitted only to this particular journal with no prior acceptance for publication elsewhere in other academic journals. The manuscript must also not violate the copyright issue by means of plagiarism.