Media Usage and Spending Behaviors Based on the Sufficiency Economy among College Students in the Bangkok Metropolitan
Main Article Content
Abstract
This research aims to search for significant causal variables and predictive ability of media usage quantity, attitude towards spending behaviors based on Sufficiency Economy, and spending behaviors based on Sufficiency Economy among college students in Bangkok. A survey research was applied to study 441 undergraduate students enrolling in both public and private universities in Bangkok. Then, Stepwise Multiple Regression Analysis was used in data processing. The result reveals that “protective family communication” is the strongest predictor for television exposure quantity. “Future-orientation and self-control” is the strongest predictor for social media exposure quantity. “Peer role modeling” is the strongest predictor for internet exposure quantity. “Knowledge on Sufficiency Economy” is the strongest predictor for attitude towards spending behaviors based on Sufficiency Economy. Finally, “attitude towards spending behaviors based on Sufficiency Economy” is the strongest predictor for spending behaviors based on Sufficiency Economy. The research result suggests that in order to maintain teenagers’ interests and spending behaviors based on Sufficiency Economy, the policy makers, especially government organizations, should encourage the production of simplified knowledge on Sufficiency Economy presentation in various contents to which teenager audience are normally exposed on internet, social media and television.
การใช้สื่อและพฤติกรรมการใช้จ่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวแปรเชิง เหตุที่สำคัญ ที่มีต่อเจตคติต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และพฤติกรรมการใช้จ่ายตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง ของกลุ่มนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 441 คน และใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารใน ครอบครัวแบบปกป้องสามารถทำนายปริมาณการเปิดรับสื่อประเภทโทรทัศน์ของนักศึกษาในเขต กรุงเทพมหานครได้เป็นอันดับหนึ่ง ในขณะที่ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนสามารถทำนายปริมาณการ เปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ได้เป็นอันดับหนึ่ง และการมีแบบอย่างจากเพื่อนสามารถทำนายปริมาณการเปิดรับ สื่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นอันดับหนึ่ง นอกจากนี้ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำนาย เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครได้เป็น อันดับหนึ่ง และเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำนายพฤติกรรมการ ใช้จ่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครได้เป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้ ผลการวิจัย สามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ ผู้ควบคุมนโยบายภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการผลิตเนื้อหาใน รูปแบบที่หลากหลายที่สามารถนำเสนอความรู้เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และชวนให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อโทรทัศน์
Article Details
The manuscript submitted for publication must be the original version, submitted only to this particular journal with no prior acceptance for publication elsewhere in other academic journals. The manuscript must also not violate the copyright issue by means of plagiarism.