Feasibility Study of Patterns and Ways to Implement Fermented Fish Pledging Scheme by the Community : A Case Study of Khong River Fermented Fish Community Enterprise Group, Chanuman District, Amnatcharoen Province

Main Article Content

Napaporn Hongpukdee
Surbpong Hongpukdee

Abstract

The research aims to investigate the possibilities of fermented fish mortgage scheme-jointly cooperated with the research area of Mekong fermented fish community enterprise located at Yak Khoo village, village number 5, Chanuman Sub-district, Chanuman District, Amnat Charoen Province. This participatory action research consists of two main activities including: 1) a panel discussion for introducing the scheme, and 2) an area-session forum for members to discuss about the information regarding the target area. Moreover, the research instruments employed in this study are as follows: 1) the interview of all related key informants concerned, 2) the in-depth interview, 3) the participatory action research, 4) Focus Group, and 5) the community forum. The pattern consists of four major processes including 1) community survey, 2) community meeting, 3) the 4-step mortgage process of registration, quality insurance and classification for price estimation, mortgage paying, and storage of fermented fish, 4) selling of fermented fish. Running this mortgage scheme provides benefits in various ways such as declining the production cost by promoting the mutual use of ingredients for fermented fish products resulting in high profits. Moreover, people in the community are strengthened according to the sustainable career and they are encouraged to maintain the traditional wisdom of fermented fish, paving the way to the sustainability of community enterprise.

การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบและวิธีการการจำนำปลาร้า โดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าแม่น้ำโขงอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบและวิธีการการจำนำปลาร้าโดยชุมชนมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าแม่น้ำโขง บ้านยักษ์คุ หมู่ที่ 5 ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) การประชุมกลุ่มย่อยแนะนำโครงการและเปิดประเด็นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 2) การประชุมหารือระดับพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2) การสัมภาษณ์เจาะลึก 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) การสนทนากลุ่ม และ 5) การจัดเวทีชาวบ้าน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจำนำที่มีความเหมาะสมมีวิธีการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจชุมชน 2) การประชุมชี้แจงรูปแบบและวิธีการให้กับสมาชิก 3) การรับจำนำแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ การรับลงทะเบียนสมาชิก การตรวจสอบคุณภาพและจำแนกเกรดของปลาร้าเพื่อกำหนดราคาที่จะรับจำนำ การจ่ายเงินรับจำนำและการเก็บรักษาไหปลาร้าและ 4) การจำหน่าย ซึ่งผลลัพธ์จากการทำโครงการรับจำนำปลาร้าทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและมีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น ชุมชนมีความเข้มแข็งและสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นที่มีวิถีชีวิตติดริมน้ำโขงได้ภูมิใจและช่วยกันรักษาภูมิปัญญาการถนอมอาหารที่มีความหมายต่อชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับวิสาหกิจชุมชนต่อไป


Article Details

Section
Research Articles