การจัดการองค์กรการศึกษาภาคเอกชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษา : โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม

Main Article Content

ปวรรัตน์ ศรีกัลยา
กิตติศักดิ์ นิวรัตน์
มาฆะ ขิตตะสังคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดการองค์กรการศึกษาภาคเอกชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเชียงรายวิทยาคมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนโดยการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอกในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การสังเคราะห์กลุ่มพฤติกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และการกำหนดแผนงานโครงการรองรับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเชียงรายวิทยาคมโดยการจัดการองค์กรทางการศึกษาภาคเอกชนอย่างมีส่วนร่วมน้ำการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนเชียงรายวิทยาคมในการพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์กับกลุ่มนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 4, 5 และ 6 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป จำนวน 103 คน โดยการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารจังหวัดทหารบกเชียงรายคณะครูผู้บริหารโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม และผู้ปกครองนักเรียน การใช้แบบประเมินพัฒนาการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนหลังจากเข้าร่วมโครงการและทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา (DescriptiveStatistics) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การสังเคราะห์กลุ่มพฤติกรรมจากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) อันนำไปสู่ข้อสรุปนำไปใช้ในการวางแผนงานโครงการรองรับการพัฒนาของโรงเรียนต่อไป ผลการศึกษา พบว่า โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม สามารถพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพัฒนาการเชิงพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับที่ดี ได้แก่ 1) คุณลักษณะความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) คุณลักษณะความซื่อสัตย์สุจริต 3) คุณลักษณะความมีวินัย 4) คุณลักษณะความใฝ่เรียนรู้ 5) คุณลักษณะ การอยู่อย่างพอเพียง 6) คุณลักษณะความมุ่งมั่นในการทำงาน 7) คุณลักษณะการรักความเป็นไทย และ 8) คุณลักษณะการมีจิตสาธารณะ


ผลการวิเคราะห์การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์8ประการพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่สำคัญ 2 กลุ่มพฤติกรรม จากนั้นทำการสังเคราะห์ทั้ง 2 กลุ่ม พฤติกรรมเพื่อเป็นแนวทางการปรับพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน
เชียงรายวิทยาคมมีลักษณะดังนี้คือแนวทางการปรับพฤติกรรมกลุ่มพฤติกรรมที่1)คือการมุ่งเน้นพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะการมีจิตสาธารณะควบคู่ไปกับการพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะความมุ่งมั่นในการทำงานและการพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะการรักความเป็นไทยซึ่งจะทำให้คุณลักษณะทั้ง3ประการ
เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างพร้อมๆกันในทิศทางที่ดีขึ้นและแนวทางการปรับพฤติกรรมกลุ่มพฤติกรรมที่ 2) คือ การมุ่งมั่นพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ยังคงต้องมีการพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะความมีวินัย ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การอยู่อย่างพอเพียง และ
การใฝ่เรียนรู้ควบคู่ไปด้วย เพราะหากผลการพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะความซื่อสัตย์สุจริตเพิ่มขึ้นย่อมทำให้พฤติกรรมคุณลักษณะอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยดังนั้นผู้วิจัยได้สร้างข้อเสนอแผนงานโครงการจำนวน 2 แผนงานโครงการเพื่อให้โรงเรียนเชียงรายวิทยาคมและโรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) โครงการพัฒนาความมุ่งมั่นในการทำงานและการมีจิตสาธารณะสู่การสร้างความภูมิใจในความเป็นไทย โครงการนี้เป็นในลักษณะการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเน้นเชิงพื้นที่บริบทและสภาพแวดล้อมที่ให้มีการทำงานเป็นทีมในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นและ2)โครงการ
ค่ายคุณธรรมพัฒนาชีวิต โครงการนี้มุ่งเน้นที่การปลูกฝังการทำความเข้าใจในประเด็นหรือสิ่งที่ทำ เน้นการควบคุมเชิงพื้นที่และพฤติกรรมการสร้างแรงกดดันบางประการเพื่อให้เกิดการปรับตัวเชิงพฤติกรรม ทั้งนี้ จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมขององค์กรที่เกี่ยวข้องรวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา หน่วยฝึกอบรมและผู้ปกครองของนักเรียนเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). แนวการบริหารจัดการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
กีรติ บุญเจือ. (2542). จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
จันทร์เพ็ญ อมรเลิศวิทย์. (2542). การควบคุมทางสังคม = Social control. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พรชัย เจดามาน. (2550). แนวคิด ทฤษฎี การบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556,
จาก http://www.oknation.co.th.net/
โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม. (2558). สรุปผลการพัฒนาและการนำไปใช้. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2556,
จาก http://www.cvk.ac.th/
Bandura, A. (1970). Modeling theory : Some traditions, trends, and disputes. In W. S.
Sahakian (ed.), Psychology of learning : Systems, models, and theories.
Chicago: Markham. (pp.9).
Skinner, B. F. (1971). Beyond freedom and dignity. New York: Knopf.