วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างนักวิจัย นักวิชาการและผู้อ่านในการนำเสนอ เผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย และข้อค้นพบใหม่ ๆ โดยนำเสนออย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส โดยมีกระบวนการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ ทางวารสารมีนโยบายเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร (Publication Ethics) พร้อมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นิพนธ์ (Author) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) และบรรณาธิการวารสาร (Editor) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่มได้ศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ในแวดวงวิชาการต่อไป

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

ในการส่งบทความมานำเสนอ หรือเผยแพร่ลงในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ผู้นิพนธ์จะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

1. ผลงานที่ส่งมานั้นต้องเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน โดยต้องรายงานข้อเท็จจริงจากการศึกษา โดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลที่ผิดหลักศึลธรรมอันดีของสังคม

2. เป็นผลงานที่เขียนตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้เขียน” ของวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

3. เป็นผลงานที่ต้องมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นหากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง อย่างถูกต้องตามรูปแบบของวารสาร ทั้งในเนื้อหาบทความ และรายการอ้างอิงท้ายบทความ

4. มีการระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย และระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) ในบทความ

5. ผู้นิพนธ์ควรยอมรับผลการประเมินบทความของผู้ประเมินบทความ และกองบรรณาธิการ โดยหากผลการประเมินของผู้ประเมินบทความปฏิเสธการตีพิมพ์บทความด้วยเงื่อนไขทางวิชาการต่างๆ ผู้นิพนธ์ไม่สามารถขอค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์คืนได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในขอบเขตความเชี่ยวชาญของตน โดยมีการประเมินด้วยหลักวิชาการในการวิเคราะห์และประเมิน ไม่ประเมินโดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาประเมินบทความที่ได้รับมอบหมาย

2. ผู้ประเมินบทความไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือเหตุผลอื่น ๆที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ และหากผู้ประมาณทราบภายหลังการมอบหมายให้ประเมินบทความสามารถแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ ได้

3. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาข้อมูลในบทความที่ได้รับมอบหมายให้ประเมินเป็นความลับ ไม่เปิดเผยส่วนหนึ่งส่วนใด หรือข้อมูลทั้งหมดให้กับบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการจะรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยจะดำเนินการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและเจ้าของบทความ จะปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ มีการรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ และเต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น ซึ่งนอกจากนี้บรรณาธิการต้องมีบทบาทหน้าที่ต่อทั้งผู้อ่าน เจ้าของบทความ และต่อตัวผู้ประเมินบทความดังนี้

1. หน้าที่ของบรรณาธิการวารต่อผู้อ่าน บรรณาธิการจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบทความ และข้อมูลของเจ้าของบทความเท่าที่จำเป็นให้ผู้อ่านทราบ ตลอดจนผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยและบทบาทของผู้ให้ทุนวิจัยในการทำวิจัยนั้นๆ

2. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์

     2.1 บรรณาธิการจะดำเนินการทุกอย่างอย่างเป็นระบบและเสมอภาคต่อผู้นิพนธ์ทุกคน เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์

     2.2 การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ จะขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ ประโยชน์ทางวิชาการ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร

     2.3 บรรณาธิการมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) และวารสารมีช่องทางให้เจ้าของบทความอุทธรณ์ได้หากเจ้าของบทความมีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ

     2.4 บรรณาธิการจะจัดพิมพ์คำแนะนำแก่เจ้าของบทความ ในทุกเรื่องที่เจ้าของบทความควรรับทราบ และมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ

     2.5 บรรณาธิการไม่มีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไปแล้ว ยกเว้นมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในระหว่างการส่งบทความมารับการพิจารณา

     2.6 หากมีการเปลี่ยนแปลงบรรณาธิการ บรรณาธิการคนใหม่จะไม่กลับคำตัดสินใจมาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น

3. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ บรรณาธิการจะมีการปรับปรุงรูปแบบการให้คำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ และมีระบบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นวารสารนั้นมีการประเมินบทความแบบเปิดที่ได้แจ้งให้เจ้าของบทความและผู้ประเมินรับทราบล่วงหน้าแล้ว