ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์

1. เพื่อให้ผลงานวิชาการในสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชน

2. เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาในสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
กำหนดการออก

กำหนดปีละ 2 เล่ม (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม)

การเสนอเพื่อตีพิมพ์

บทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารได้แก่

  1. บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพรในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
  3. ต้องเป็นบทความที่มีรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อแนะนำสำหรับการเขียนบทความ

        กรณีกองบรรณาธิการได้รับบทความและได้ตรวจสอบพบว่ายังไม่ถูกต้องตามรูปแบบ กองบรรณาธิการจะส่งคืนให้ผู้เขียนไปทำการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยผู้เขียนต้องกรองข้อมูลผ่านบนระบบ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal

  1. กรณีกองบรรณาธิการเห็นว่าบทความมีความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งบทความนั้นไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของบทความนั้น ๆ เพื่อกลั่นกรองและพิจารณาบทความละ 3 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
  2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความคืนจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นรองและพิจารณาเสร็จแล้ว หากมีการแก้ไขใด ๆ กองบรรณาธิการจะส่งบทความนั้นไปให้ผู้เขียนดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดระยะเวลาให้ผู้เขียนแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน
  3. กองบรรณาธิการจะตอบรับให้ผู้เขียนภายใน 5 วัน นับแต่วันที่กองบรรณาธิการได้รับบทความที่ได้ดำเนินการแก้ไข ตามข้อ 5. เรียบร้อยแล้ว

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

บทความอาจนำเสนอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ โดยมีส่วนประกอบ คือ ชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเจ้าของบทความ ชื่อหลักสูตร สาขาวิชา หน่วยงานสังกัด บทคัดย่อ Abstract คำสำคัญ (Key word) บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี) ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย สรุปการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง

ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับ

  1. ขนาดกระดาษ

             ให้พิมพ์ผลงานด้วยกระดาษ เอ 4 พิมพ์หน้าเดียว จำนวนไม่เกิน 10-12 หน้า

  1. กรอบของข้อความ

             2.1 เว้นระยะจากขอบบนของกระดาษมาถึงข้อความบรรทัดแรก 1.50 นิ้

             2.2 เว้นระยะจากขอบล่างของกระดาษถึงข้อความบรรทัดล่างสุด 1 นิ้

             2.3 เว้นระยะจากขอบข้ายของกระดาษถึงอักษรตัวแรกของแต่ละบรรทัด ซึ่งเรียกว่า "แนวคั่นหน้า" 1.50 นิ้ว

             2.4 เว้นระยะจากขอบขวามือของกระดาษถึงอักษรตัวสุดท้ายของแต่ละบรรทัด 1 นิ้ว

  1. การย่อหน้า/ตั้งแท็ป

             การย่อหน้าให้เว้นระยะ โดยย่อหน้าแรกให้เว้นระยะ 7 ตัวอักษรและให้เริ่มพิมพ์ตัวที่ 8

             กรณีพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ย่อหน้าที่ 1 ให้ตั้งแท็บที่ 0.60 นิ้ว และย่อหน้าที่ 2 ถึง 5 ตั้งแท็ปที่ 0.85 นิ้ว 1.15 นิ้ว 1.55 นิ้ว และ 2.10 นิ้ว

  1. ระยะห่างระหว่างบรรทัด

             หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์

  1. ตัวอักษร

             ใช้ TH Sarabun New และพิมพ์ตามที่กำหนด

  1. ชื่อเรื่อง (Title)

             6.1 ภาษาไทย ขนาด 18 point, กึ่งกลางหน้ากระดาษ, ตัวหนา

             6.2 ภาษาอังกฤษ ขนาด 18 point, กึ่งกลางหน้ากระดาษ, ตัวหนา

  1. ชื่อเจ้าของบทความ (ทุกคน)

             ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ ขนาด 18 point, กึ่งกลางหน้ากระดาษ, ตัวหนา

  1. ชื่อหลักสูตร สาขาวิชา หน่วยงานสังกัด

             ภาษาไทย ขนาด 18 point, กึ่งกลางหน้ากระดาษ, ตัวหนา

  1. บทคัดย่อ

             9.1 ชื่อ "บทคัดย่อ" และ "Abstract" ขนาด 18 point, ชิดขอบซ้าย, ตัวหนา และเว้น 1 บรรทัด

             9.2 Text บทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 16 point, ตัวธรรมดา

             9.3 Text บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 16 point, ตัวธรรมดา

             9.4 ย่อหนา 0.6 นิ้ว

  1. คำสำคัญ (Key word)

             ให้พิมพ์ต่อจากส่วนบทคัดย่อก่อนขึ้นส่วนของเนื้อหา ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความประมาณ 4-5 คำ ใช้ตัวอักษร ภาษาไทย หรือ อังกฤษ ขนาด 16 point ตัวธรรมดา

  1. ข้อแนะนำสำหรับการจัดทำตาราง

             ภาพประกอบ/ตาราง ควรมีเฉพาะที่จำเป็น หัวภาพ/ตารางให้จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษหมายเลขประจำภาพ/ตาราง ให้เขียนคำว่า ภาพที่/ตารางที่ ตามด้วยหมายเลขภาพที่/ตารางที่ชิดแนวคั่นหน้า ใช้ตัวอักษรหนาสีดำ ขนาด 16 Point เว้น 2 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ชื่อภาพ/ตารางด้วยตัวอักษรธรรมดาที่อ้างอิงจากแหล่งอื่นให้ระบุแหล่งที่มาของภาพ/ตารางด้วย โดยระบุไว้ใต้ภาพ/ตาราง จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษ ให้เขียนคำว่า ที่มา ขนาด 16 Point เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์แหล่งที่มาด้วยตัวอักษรธรรมดา

  1. การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหา

             การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหา (In-text Reference) คือ การเขียนเฉพาะ "ชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์" ของสิ่งอ้างอิงที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า โดยเขียนแทรกเข้าไปในเนื้อหาของแต่ละบท (โดยไม่ต้องบอกรายละเอียดอย่างอื่น) เพื่อบอกให้ทราบว่าเนื้อความที่นำมาใช้อ้างอิงนั้นมาจากแหล่งใดการอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหานี้อาจเรียกว่า การอ้างอิงระบบ "นามปี" เนื่องจากเขียนอ้างอิงเฉพาะนาม (ชื่อ) ผู้แต่ง และปีที่พิมพ์เท่านั้น เช่น ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2541, น. 1) และ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2541, น. 1)

  1. การเขียนเอกสารอ้างอิง

             รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงจำแนกตามประเภทของสิ่งอ้างอิง รูปแบบการเขียน "รายการอ้างอิง" ของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ยึดรูปแบบการเขียนตามระบบ APA ดังมีรายละเอียดต่อต่อไปนี้

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  •  ท่านไม่สามารถขอคืนเงินค่าลงทะเบียนได้หากบทความของท่านไม่ได้รับพิจารณาให้ตีพิมพ์
  •  ไฟล์ของบทความสำหรับการตีพิมพ์ต้องถูกจัดในรูปแบบที่กำหนดเท่านั้น
  •  ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับใดมาก่อนรวมทั้งไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  •  ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
  •  กรุณากรอกเบอร์โทรติดต่อในช่อง Comment ด้านล่าง

การส่งบทความ

ผู้เขียนต้องส่งไฟล์ต้นฉบับที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/submission/wizard เป็น Microsoft Word for Windows ให้มีรายละเอียดครบตามแบบฟอร์มของวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่ คุณรัชชานนท์ แย้มศรี เบอร์โทรศัพท์ 0-5377-6026 ผู้เขียนบทความสามารถติดตามรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ ได้ที่ https://grad.crru.ac.th

ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว