การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษตามแนวคิด วิธีธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษตามแนวคิดวิธีธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษตามแนวคิดวิธีธรรมชาติ จำนวน 10 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง แบบวัดทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษทำการทดสอบเมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผน
การจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแนวคิดวิธีธรรมชาติ ประเมินเมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน จากการใช้แบบทดสอบหลังการจัดกิจกรรมนักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์
การประเมิน (ร้อยละ 60) และพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิธีธรรมชาติอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงฯ.
ฐณมน สมชนะ. (2549). ผลการสอนวิชาภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีธรรมชาติโดยใช้การ์ตูนสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีตามแนวทฤษฎีธรรมชาติและวิธีการสอน
ตามคู่มือครู. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2556). ขั้นตอนการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. เชียงราย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
นุรอานี โตะโยะ. (2555). ผลของการสอนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติต่อความสามารถทางภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนระดับเตรียมความพร้อม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์. สงขลา.
โรงเรียนอนุบาลแม่สรวย. (2555). เอกสารงานวิชาการ. เชียงราย: โรงเรียนฯ.
วิภารัตน์ อุปรินทร์. (2551). การพัฒนาความสามารถทางการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี.
ศิริพรรณ ชัชวาลวงศ์. (2551). ผลสัมฤทธิ์ของการเล่านิทานที่มีต่อทักษะการฟังและการพูด
ภาษาอังกฤษและความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.
ศิริมา โพธิจักร์. (2553). การใช้กิจกรรมการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูด
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.
อนงค์กร ศรีเจริญ. (2548). การใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง-พูด
ภาษาอังกฤษและความสามารถรู้คำศัพท์ของผู้เรียนในระดับเตรียมความพร้อม. (วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
Richards, Jack C. and Rodgers, Theodore S. (1986). Approaches and methods in
language teaching : A description and analysis. Cambridge: Cambridge
University