การใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ณัฐพร นาวิศิษฎ์
วิชิต เทพประสิทธิ์
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่าย
แบบ Big Six Skills เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่5กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5/3โรงเรียนเทศบาล
4 สันป่าก่อ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 28 คน
1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เรื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยีประกอบด้วย 2 หน่วยการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six
Skills จำนวน 10 แผน แบบประเมินผลงานการคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงจากแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์
ตามแนวคิดของ Guilford แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ
ต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าทาง
สถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ BigSix
Skills เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่5มีคะแนนเฉลี่ยการคิดสร้างสรรค์คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจนพร ภัคพาริชย์. (2552). ผลการเรียนด้วยบทเรียนผ่านเว็บวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานของ
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิสุทธรังสี จังหวัดกาญจนบุรี. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Microsoft Excel.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
นภาพร วรรณทอง. (2555). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
บุญยิ่ง เสลานอก. (2555). ผลการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills
กับการเรียนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน.
ปาลิตา บัวสีดำ. (2551). การใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ
และคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้
สารสเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
วิยะดา ดอกจันทราง, ฐาปนี สีเฉลียว และ รัฐกรณ์ คิดการ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติต่อประชาคมอาเซียนระหว่างการเรียน
ด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills กับการเรียนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สิริมณฑน์ สนิทอินทร์. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตาม
ทฤษฎีโครงสร้างสติปัญญาของกิลฟอร์ด เรื่อง อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2546). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.