ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้โมดูลสื่อประสม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ จิตวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้โมดูลสื่อประสม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยทนุ
บ้านสันต้นดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โมดูลสื่อประสมเรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย
หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ
วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้โมดูลสื่อประสม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ
ร้อยละ 83.87 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.93 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.93
และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 13.87 มีคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเท่ากับ
ร้อยละ 81.47 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 59.07 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.40
และมีคะแนนเฉลี่ยด้านจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนเท่ากับร้อยละ 84.19 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ 73.68 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.51
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงฯ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:
แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ณัฐพงศ์ ยศวังใจ (2546). การสร้างบทเรียนโมดูลคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. สืบค้นจาก ฐานข้อมูลงานวิจัย
ThaiLis Digital Collection.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116. หน้า 8.
ไพฑูรย์ หาญเชิงชัย. (2550). ผลการเรียนรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่มีเพศต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก
ฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.
โยธิน กัลยาเลิศ. (2548). การเปรียบเทียบผลการสอนตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้และรูปแบบ
สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และแนวความคิดแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.
วาชินี บุญญพาพงศ์. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พืชและสัตว์ ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการเรียนรู้แบบ
วัฏจักรการสืบเสาะความรู้. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
นครราชสีมา
อาชญาสิทธิ์ รักญาติ. (2546). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ เรื่อง แสงอาทิตย์
และพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนโมดูล
สื่อประสม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก
ฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.