การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ทักษะการเขียน และทักษะการนำเสนอ สาระภาษาอังกฤษ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ประภัสสร ไชยถา
ผาสุข บุญธรรม
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ทักษะการเขียน และทักษะ
การนำเสนอ สาระภาษาอังกฤษ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านเมืองกาญจน์ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำนวน 25 คน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และแผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยวิธีปกติ แบบประเมินความสามารถด้านทักษะอ่านจับใจความแบบประเมินความสามารถด้านทักษะ
การเขียน แบบประเมินความสามารถด้านทักษะการนำเสนอ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถด้านทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้โครงงานเป็นฐานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ
2. ความสามารถด้านทักษะการเขียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
โครงงานเป็นฐานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ
3. ความสามารถด้านทักษะการนำเสนอของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
โครงงานเป็นฐานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีความพึงพอใจต่อ
การเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้โครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยด้านที่นักเรียน
มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านครูผู้สอน รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ และด้านเนื้อหา ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
_____. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ดุษฎี โยเหลา และคนอื่นๆ. (2557). การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ
สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
. (2551). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). ขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. เชียงราย:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545). จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2558). ความสำคัญของงานเขียน. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2558, จาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/markandtony/2012/01/17/entry-2.
สมนึก ภัททิยธนี. (2545). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
อัจฉรา วงศ์โสธร. (2544). การทดสอบและการประเบึขผลการเรียนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aborderine, Yemi. (1986). Integrating reading and writing. English Teaching Forum, 1(2), 63.
Barnett, Marva. (1989). More than meets the eye. New Jersey: Prentice-Hall.
Harmer, Jeremy. (1992). The practice of English language teaching. London: Longman.
McDonnell, K. (2007). Can 40 seconds of compassion reduce patient anxiety. Journal of
Clinical Oncology, 17(1), 371.
Nelson, D. L. (1997). Organization behavior. New York: Harper and Row.
Sheerin, Susan. (1989). Self-access. Oxford: Oxford University Press.
Strobel, G. (2004). Natural products from endophytic microorganisms. New York:
Prentice Hall.