แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านกวาว องค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านกวาว องค์การบริหาร
ส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชน และปัญหาการจัด
ทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านกวาว องค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอ
เมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านกวาว องค์การบริหาร
ส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยศึกษาจากประชากรบ้านกวาว หมู่ที่ 5 ประกอบด้วย
คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านและผู้นำชาวบ้าน จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ สัมภาษณ์
การสนทนากลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์เป็นแนวทางการสร้างยุทธศาสตร์
การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านกวาว องค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่า ชุมชนบ้านกวาวเป็นชุมชนเก่าแก่ มีการรวมกลุ่มของชาวบ้าน
ในรูปแบบต่างๆ มีศาลเจ้าพ่อพระยาแก้วซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชุมชน และพบว่า มีการส่งเสริมการสร้าง
สวัสดิการโดยสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ทำให้พบว่า ผู้ที่ได้รับโอกาสได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงถาวร มีความปลอดภัย มีความสุขและอบอุ่นในครอบครัว และทำให้รู้สึกถึงความร่วมมือ
ความเสียสละความสามัคคีของประชาชนทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนพบว่า มีการส่งเสริม
การปลูกพืชผักปลอดสารพิษตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสามารถได้ผลผลิตดีต่อครอบครัว
ก่อเกิดรายได้ในการเลี้ยงครอบครัว
ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ชุมชนบ้านกวาวได้ร่วมกันกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ที่มีลักษณะมีความเป็นไป
ได้ที่จะบรรลุถึงภายใต้เงื่อนไขของศักยภาพและข้อจำกัดที่มีอยู่ ได้แก่ “บ้านกวาวสังคมมีสุข สุขภาพดี มั่นคง
ด้านอาหารและสิ่งแวดล้อมชุมชน” และกำหนดแผนยุทธศาสตร์ 3 ด้านคือ 1) ด้านสังคม 2) ด้านสิ่งแวดล้อม
3) ด้านเศรษฐกิจ ผลจากการสนทนากลุ่มแกนนำชุมชนบ้านกวาว ได้มีความเห็นร่วมกันที่รับผิดชอบร่วมกัน
ดำเนินการ จำนวน 2 แผน คือ 1) ยุทธศาสตร์ด้านสังคม การส่งเสริมการสร้างสวัสดิการโดยสร้างที่อยู่อาศัย
ให้ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีความปลอดภัย มีความสุขและ
มีความอบอุ่นในครอบครัว และ 2) ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีประเภทของพืชผักในชุมชนบ้านกวาวสามารถได้ผลผลิตดีต่อ
ครอบครัวมาก ก่อให้เกิดรายได้ในการเลี้ยงครอบครัวอย่างได้ผลดี
ผลการประเมินการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านกวาวองค์การ
บริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า แกนนำชุมชนบ้านกวาวมีความพึงพอใจใน
การได้ร่วมศึกษาบริบทชุมชน ได้ทราบความเป็นมาของชุมชน รากเหง้า และได้ข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับ
สภาพปัญหาเกิดการเรียนรู้ร่วมกันสามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาในชุมชนส่งผลให้เกิด
การพัฒนาศักยภาพของคนชุมชนของตนเองอย่างจริงจัง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559. 21 กันยายน 2559.
ปทิดา ปานเนตรแก้ว. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นของ
องค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสาคร. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ขอนแก่น.
พัชรวรรณ พันธ์แตง. (2555). แนวทางการพัฒนากระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อพัฒนา
ท้องถิ่นของเทศบาลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระ
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
เสรี พงศ์พิศ. (2556). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: มปพ.
WHO and UNICEF. (1978). Why Community Participation? A discussion of the
Agreement 90. In Community Participation: Current Issue and Lesson
Leaned. New York United Nation Children’s Fund.