การประเมินการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การประเมินการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอ
เมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อเสนอแนวทาง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้
การวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มสำหรับเชิงปริมาณ ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ตอบ
แบบสอบถาม 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ และการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ ในภาพรวมผลการประเมินอยู่ระดับมาก และจาก
การสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มพบว่า ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ พบปัญหาไม่ได้นำผลการปฏิบัติงาน
มาใช้ในการประเมินผลการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบปัญหาการชะลอการให้ทุน
การศึกษา มิได้จัดให้มีสวัสดิการเพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนเพื่อให้พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างมี
การพัฒนาด้านการศึกษา และพบว่า พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างส่วนใหญ่ใช้ทุนส่วนตัวในการศึกษา
เล่าเรียนจึงถือว่าเป็นการพัฒนาด้วยตนเอง และอีกปัญหาหนึ่ง คือ ในการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่
พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนาไม่ได้สอบถามความต้องการเข้ารับ
การฝึกอบรมหรือการจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง
ทำให้การฝึกอบรมในครั้งนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่สำคัญในด้านการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนาตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมพัฒนาพนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง
สำหรับแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนาที่สำคัญ ได้แก่
การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อให้รับทราบปัญหาในการปฏิบัติงาน การใช้คะแนนการ
ประเมินผลการปฏิบัติงานประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเป็นตัวชี้วัด
ส่งเสริมการฝึกอบรมโดยการสอบถามความต้องการฝึกอบรมให้ตรงตามหลักสูตรที่ฝึกอบรม พัฒนาบุคลากร
ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และป้องกันการกระทำผิดวินัย จัดให้มีกิจกรรมภายในหรือระหว่าง
หน่วยงานเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการสร้างความสามัคคีของบุคลากรในองค์การอย่างต่อเนื่อง
เสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากรในองค์การทุกกลุ่ม เปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างฝ่าย
บริหารกับพนักงานเพื่อให้รับทราบความต้องการ สร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตั้งงบประมาณ
ในการพัฒนาบุคคลกรให้เพียงพอต่อความต้องการและจัดสวัสดิการกองทุนหมุนเวียนเพื่อใช้เป็นทุน
ในการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
อุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อุตรดิตถ์.
กุลิสรา สังสนา. (2556). การประเมินผลกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดยโสธรตามตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินผลการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น.
(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ทศพร วงศ์ทะกัณฑ์. (2550). การประเมินผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ในเขตอาเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่
ปิยะวัฒน์ รุ่งเรืองวงศา. (2556). ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเทศบาลนครเชียงใหม่ตามเกณฑ์
มาตรฐานการปฏิบัติราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่
ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560, จาก http://www.local.moi.go.th/2009/pdf/
lawupdate.pdf
วณิชยา ภัทรวรเมธ. (2555). ปัญหาการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด
หนองคาย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มหาสารคาม.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และ สุริยา วีรวงศ์. (2543). คู่มือการประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ แจ่มฟ้า. (2555). ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เลย์
อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
สุกัญญา แก้วเล็ก. (2555). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น. ขอนแก่น.
เสถียรภาพ พันธุ์ไพโรจน์. (2543). ปรัชญาแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสรี แพร่ทอง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับงบประมาณ
รายจ่ายในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การศึกษาอิสระ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.