การบริหารและการจัดการงานสารบรรณของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การบริหารและการจัดการงานสารบรรณของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง
จังหวัดแพร่นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาการบริหารและการจัดการงานสารบรรณ
และเพื่อเสนอแนวทางการบริหารและการจัดการงานสารบรรณของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง
จังหวัดแพร่ กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้บริหาร ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ รวมทั้งสิ้น 53 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิค
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่
และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ด้านการจัดทำหนังสือราชการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสารบรรณไม่ได้เข้ารับ
การฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับงานสารบรรณ ด้านการรับหนังสือราชการ ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญและ
เร่งด่วนของหนังสือ ด้านการส่งหนังสือราชการ ไม่มีการสำเนาจัดเก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง ขาดการ
ติดตามเรื่องที่ได้รับมอบหมายและยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการส่งหนังสือราชการ ด้านการเก็บ
หนังสือราชการ สถานที่ในการเก็บหนังสือราชการมีพื้นที่คับแคบ ไม่มีการกำหนดรหัสแฟ้มเป็นหมวดหมู่ ไม่มี
การจัดทำบัญชีหนังสือราชการ ด้านการยืมหนังสือราชการ ยังไม่มีการจัดทำหลักฐานในการยืมหนังสือราชการ
ด้านการทำลายหนังสือราชการ ไม่ได้ดำเนินการทำลายหนังสือราชการตามระบบ ขาดการสำรวจหนังสือ
ราชการที่ครบอายุการเก็บรักษา และไม่มีการจัดทำบัญชีหนังสือราชการเพื่อขอทำลาย ทำให้หนังสือราชการ
มีจำนวนมากขึ้น ขณะผลการวิจัยด้านแนวทางการพัฒนาระบบงานสารบรรณ พบว่า ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่
ผู้ปฏิบัติงานสารบรรณได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับงานสารบรรณ ควรจัดลำดับความสำคัญ
เร่งด่วนของหนังสือ นำเสนอผู้บริหารทราบและสั่งการ ควรมีระบบทำสำเนาคู่ฉบับจำนวน 2 ชุด เพื่อจัดเก็บ
ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง ควรมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารที่เหมาะสมเป็นระบบ โดยนำเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ควรมีทะเบียนคุมการยืมหนังสือราชการ ทำการสำรวจหนังสือราชการต่างๆ ที่จะต้อง
ทำลาย โดยให้ศึกษาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) 2548 เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันและเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน
และสำรวจหนังสือที่ครบอายุการเก็บในปีนั้นทุกๆปีเพื่อจัดทำทะเบียนบัญชีหนังสือราชการเพื่อขอทำลาย
ต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จังหวัดสกลนคร. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ขอนแก่น.
ยุรดา สมบัติกำไร. (2554). การพัฒนางานสารบรรณองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงตาเจ็น
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ละลิตา บุญเสือ. (2554). การพัฒนาระบบงานสารบรรณขององค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบ
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
อัมพร พุ่มทอง. (2556). แนวทางการพัฒนางานสารบรรณขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่
อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น. ขอนแก่น.