ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัด
ลำพูนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลบ้านธิ
อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
ในเขตตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในเขต
ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน จำนวน 338 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการสมาชิกและการประชุม
รองลงมา คือ ด้านคณะกรรมการและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ด้านการบริหารงานสินเชื่อและ
การติดตามหนี้ ด้านการจัดสรรกำไร และด้านการจัดการเอกสาร/การตรวจสอบภายใน/การรายงานกองทุน
หมู่บ้าน ในเขตตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ควรให้ความสำคัญโดยการปฏิบัติตามหลักการบริหาร
ความเสี่ยงและการควบคุมภายในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีวัตถุประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางทางการ
เงินให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนใน
การพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับการส่งเสริมและการพัฒนา
ไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
งานกองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(3), 75-89.
จังหวัดลำพูน. อำเภอบ้านธิ. กองทุนหมู่บ้านตำบลบ้านธิ. (2559). คู่มือการประเมินศักยภาพและ
ประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. ลำพูน: สำนักงานกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.).
ธีรวัฒน์ หินแก้ว. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านทุ่งโปร่ง
ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
วิทยาลัยพิชญบัณฑิต. หนองบัวลำภู.
พรพิมล เฉลิมมีประเสริฐ และ ภณิตา สุนทรไชย. (2554). การบริหารจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้าน
เพื่อการพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 169-183.
ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2558). รายงานการศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:
สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.สุกานดา ผิวอ่อนดี, อุษณีย์ เส็งพาณิช และ ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ. (2558). แนวทางการบริหาร
จัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านใน
เขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 125-141.
Krejcie, Robert V., and Morgan, Daryle W. (1970). Determining sampling size for research
activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 10(11), 93.