ประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
งานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ด้วยการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้
แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานของคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 280 คน แบ่งเป็น 12 ตำบล วิเคราะห์ข้อมูลใช้
สถิติพื้นฐานประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
รวมทุกด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 3.57 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้าน
การจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนและพิจารณาเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในระดับ
มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 รองลงมา คือ ด้านพิจารณาดำเนินการใดๆ เพื่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ หรือ
ประโยชน์ส่วนรวมและให้สอดรับหรือเกื้อกูลกองทุนอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84
ขณะที่ด้านการจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89
ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
ในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ คือ ควรเร่งปรับปรุงองค์ประกอบในด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับปานกลาง
ได้แก่ ด้านการจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและด้านการออกประกาศระเบียบหรือข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน
โดยการจัดหางบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานในทำเลที่เหมาะสม ไปมาสะดวก จัดหาสิ่งอำนวย
ความสะดวกในการปฏิบัติงานและบริการให้ครบถ้วน มีการประชุมสมาชิกเป็นประจำ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิก
มีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ระเบียบหรือ
ข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านให้ทราบโดยทั่วถึง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดชัยภูมิ. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
กมลชัย บัวสาย และคนอื่นๆ. (2557). การใช้ประโยชน์เงินกองทุนหมู่บ้านในการแก้ปัญหาหนี้สิน
นอกระบบของเกษตรกร. แก่นเกษตร, 42(ฉบับพิเศษ 1), 4.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2546). แผนแก้ความจนโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมฯ
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บ้านเมือง. (บรรณาธิการ). (2554, มิถุนายน 18). กองทุนหมู่บ้านเสียหาย
ใคร? … มีสิทธิฟ้องคดี. บ้านเมือง, หน้า 6.
จริยา วงศ์กำแหง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน
จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี.ดารณี ผิวขาว. (2545 ). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นสตรีในเขตอำเภอเกษตร
สมบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. มหาสารคาม.
ดำรงค์ มากระจัน. (2549). ประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในจังหวัด
กาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม.
ทวีสันต์ สุขเจริญ. (2546). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน : ศึกษากรณีอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เพ็ญโสภา ปุณโณฑก. (2551). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านของคณะกรรมการกองทุน
หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.