การศึกษาการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนภูซาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

Main Article Content

ชนัญชิดา วงศ์ใหญ่
พูนชัย ยาวิราช
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และศึกษาสภาพปัญหาและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร
จัดการศึกษาของกลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 การวิจัย
ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม
สำเร็จรูปด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า
1. ระดับความสำเร็จตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับ
การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับความสำเร็จมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละหลักพบว่า ความคิดเห็นของครู
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นด้วยในระดับความสำเร็จมากทุกข้อเช่นเดียวกัน โดยหลัก
ภูมิคุ้มกันมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เงื่อนไขความรู้ รองลงมา คือ หลักความพอประมาณ เงื่อนไขคุณธรรม และ
หลักความมีเหตุผล ตามลำดับ
2. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการศึกษา
ของกลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ปัญหาและอุปสรรค
ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อันดับ 1 คือ ผู้บริหารควรจะให้ความสำคัญ
กับการวางแผนการดำเนินงานธุรการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันดับ 2 คือ ผู้บริหารไม่เห็น
ความสำคัญการวางแผนการพัฒนางาน อันดับ 3 คือ ผู้บริหารเห็นว่าการทำงานบางงานเป็นเรื่องของครู
บางกลุ่มไม่ใช่เรื่องของครูทั้งโรงเรียน
3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการศึกษาของ
กลุ่มโรงเรียนภูซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 อันดับ 1 คือ ผู้บริหารควร
จะให้ความสำคัญกับการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาโรงเรียน อันดับ
2 คือ ผู้บริหารควรแจ้งให้ครูรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อร่วม
กันวางแผนพัฒนางานการจัดการศึกษา อันดับ 3 คือ ผู้บริหารควรมีการประเมินผลการใช้หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการศึกษาในทุกที่ เพื่อการปรับปรุงและการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ :
กระทรวงฯ.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ:
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
สรสิทธิ์ พรรณวงศ์. (2551). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงโรงเรียนนาหว้าพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน นโยบาย มาตรการ
แนวทางการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9
(พ.ศ. 2545-2559) : ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
เสาวลักษณ์ มาพร. (2551). ความพร้อมในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษา
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.