การเปรียบเทียบการสอนทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้นิทานท้องถิ่น อำเภอเวียงป่าเป้า ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับการจัดการเรียนรู้ แบบ KWL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุจิตรา พรมเทพ
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับแผน
การจัดการเรียนรู้แบบ KWL ที่ใช้ในการสอนทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้นิทานท้องถิ่น อำเภอ
เวียงป่าเป้า ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการสอนทักษะการ
อ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้นิทานท้องถิ่นอำเภอเวียงป่าเป้าด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับการจัด
การเรียนรู้แบบ KWL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลสันสลี อำเภอ
เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนทักษะการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณโดยใช้นิทานท้องถิ่นอำเภอเวียงป่าเป้าด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับการจัดการ
เรียนรู้แบบ KWL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลสันสลี อำเภอ
เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 ในกลุ่ม
เครือข่ายโรงเรียนตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย จำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนทุ่งห้าราษฎร์
สามัคคีวิทยา จำนวนทั้งสิ้น 11 คน และโรงเรียนบ้านสันสลี จำนวนทั้งสิ้น 11 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาใน
ครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWL อย่างละ 6 แผน แผน
ละ 1 ชั่วโมง โดยใช้นิทานท้องถิ่นอำเภอเวียงป่าเป้าเป็นสื่อร่วมด้วย จำนวนทั้งสิ้น 6 เรื่อง แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินระดับ
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้นิทานท้องถิ่นอำเภอ
เวียงป่าเป้าด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 80.57/82.08 และแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWL มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.34/82.81
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการสอนทักษะ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้นิทานท้องถิ่นอำเภอเวียงป่าเป้าด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R
กับการจัดการเรียนรู้แบบKWLผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสองกลุ่มตัวอย่างกับวิธีสอนทั้งสองแบบไม่แตกต่างกัน
3. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการสอนทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
โดยใช้นิทานท้องถิ่นอำเภอเวียงป่าเป้าด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ3R กับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL
ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างกับวิธีสอนทั้งสองแบบไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). การจัดการเรียนรู้และวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
_______. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
จิราภรณ์ สกุลเหลืองอร่าม. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไผ่ดำวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ระหว่างกลุ่มที่สอนด้วยเทคนิค SQ3R กับกลุ่มที่สอนด้วยเทคนิค KWLH-Plus.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ณันท์ขจร กันชาติ. (2551). ผลของการสอนอ่านแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร.
ถวัลย์ มาศจรัส และคนอื่นๆ. (2546). นวัตกรรมการศึกษา ชุดแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนา
ผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิชาการ อาจารย์ 3 และบุคลากรทางการศึกษา (ครูชำนาญการ
ครูชำนาญการพิเศษและครูเชี่ยวชาญพิเศษ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธารอักษร.
นิภา แก้วประทีป. (2546). การสร้างแบบฝึกการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่.
รวีวัฒร์ สิริบาล. (2551). ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้. วารสารวิชาการ, 11(123), 12-17.
สวิน ยมหา. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนอ่านแบบ KWL-Plus กับวิธีการสอนอ่านแบบปกติ.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สายทอง ทัพธานี. (2550). ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้นิทาน ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่าซางเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย. เชียงราย.