การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญา

Main Article Content

รุ่งอรุณ แสงหล้า
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อเปรียบเทียบทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญา และ
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน
อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียน
ที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญา จำนวน 5 แผน ในแต่ละเรื่องมี 5 แผนย่อย รวมทั้งสิ้น 25 แผนย่อย แบบวัดทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรม ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 3 ท่าน โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 1 เรื่อง ผลไม้ เท่ากับ
81.33/91.33 แผนที่ 2 เรื่อง ของเล่นของใช้ เท่ากับ 80.67/93.33 แผนที่ 3 เรื่อง กลางวันกลางคืน เท่ากับ
81.33/93.33 แผนที่ 4 เรื่อง ต้นไม้ที่รัก เท่ากับ 81.33/93.33 แผนที่ 5 เรื่อง ผีเสื้อ เท่ากับ 81.33/ 93.33
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญามีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยหลังเรียน
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.87 และก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.07 และทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญาทั้ง 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
สูง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับอายุ 3-5 ปี).
กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ:
เอดิสันเพรส โปรดักส์.
ขวัญจิรา ภูสังข์. (2547). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Microsoft Excel.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
บุญมา เชื้อกุลา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.พิจิตรา เกษประดิษฐ์. (2552). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.
พูนสิริ มูลอินเต๊ะ. (2551). การจัดประสบการณ์ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อพัฒนาการด้านสติปัญญา
ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพี กราฟฟิกส์ ดีไซน์.
ละเอียด ขวัญตน. (2555). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตามรูปแบบพหุปัญญา
เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เชียงราย.
วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์
กิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.
สกล ป้องคำสิงห์. (2553). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ
สำหรับเตรียมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2546). เอกสารรายงานการวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม
ทางบ้านกับความสามารถทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 4-7 ปี. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.