การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (L.D.) โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะ
การอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทาง
การเรียนรู้ (L.D.) โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่
ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย ประชากร ได้แก่ นักเรียน
ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง) ชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 9 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
ชุดฝึก แบบวัดทักษะการอ่าน แบบวัดทักษะการเขียน แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบ
บันทึกผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้
มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 73.75/78.77 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน
ภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ มีคะแนนทักษะการอ่านเท่ากับ 7.33 คิดเป็น
ร้อยละ 73.33 มีคะแนนทักษะการเขียนเท่ากับ 7.77 คิดเป็นร้อยละ 77.77 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ
มากกว่าร้อยละ 60 และนักเรียนมีพฤติกรรมโดยรวมในทางที่ดี สนุกสนาน มีความสุขกับการใช้ชุดฝึกทักษะ
การอ่านและการเขียนภาษาไทย มีความสนใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึก และมี
พัฒนาการที่ดีขึ้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
_______. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
จงกล สุภเวชย์. (2552). สภาพการเรียนการสอนและปัญหาการเรียนการสอน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ภูเก็ต.
ดาราณีย์ จันทร์หอม. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านคําของเด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกการอ่านคําคล้องจอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
บงกช สิงหกุล. (2556). การวิเคราะห์เรื่องสั้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
Seidenberg, M. S. (1989). Connections and disconnections : Acquired dyslexia in a
computational model of reading processes. In Morris, R. (ed.), Parallel
distributed processing : Implications for psychology and neurobiology (pp. 45).
New York: Oxford University Press.