การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค ATLAS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

Main Article Content

กัญจน์กมล แนบเนื้อ
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท
จิราภรณ์ ปาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค ATLAS เพื่อพัฒนาทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประชากรที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้
เทคนิค ATLAS แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test
Independent) ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้เทคนิค ATLAS มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 25.56 และ 24.31 คะแนนเฉลี่ย
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เท่ากับ 24.56 และ 22.47 และคะแนนเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์เท่ากับ 4.51
และ 4.41 ซึ่งสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติตามคู่มือครูและหนังสือเรียนของ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ. กระทรวงฯ.
ชุมพร ลือราช. (2554). ผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตามแนวคิด 5E โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อ เรื่อง พลังงานแสง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล). (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสืบเสาะหาความรู้
(5E) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
บุญเรือน ป้องหมู่. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้
ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี.
ปริญญา บุญเกตุ. (2547). ผลการใช้กิจกรรมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
วราภรณ์ สีดำนิล. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2546). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศิริวรรณ ชาวดร. (2551). การใช้ชุดกิจกรรมเทคนิคแอทลาสเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียน
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2546). จดหมายข่าว. Scientist–Teacher
Network, 1(1), 1 – 4.
สุระศักดิ์ เมาเทือก. (2542). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและความสามารถในการตัดสินใจของนักเรยนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม