การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

นิเวศน์ คำรัตน์
พรรณราย เทียมทัน
พรสิริ เอี่ยมแก้ว
สุธำทิพย์ งามนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด
เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนา
รูปแบบการเรียนการสอน และ 2) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2559 จำนวน 22 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียน
การสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้การสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ ประกอบด้วย
องค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า คือ การสร้างความพร้อมและสร้างบทบาทระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ โดยมีขั้นตอนการสอนตามแนวคิด
ของกาเย่ 9 ขั้นตอน 3) คือ ด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้
สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.88, S.D. = 0.21)
3. นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับ
นักศึกษาบัณฑิตศึกษา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร พละสนธิ. (2559). การพัฒนารูปแบบคลาวด์เลิร์นนิงแบบสตรีมด้วยเทคโนโลยี
ความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). E-instructional design วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอน
อิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงพล ขันชัย. (2554). การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม
กรณีศึกษาแบบหลายมาร์คเกอร์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วัชรพงษ์ โถรัตน์ และคนอื่นๆ. (2560). จิ๊กซอว์ : ตารางธาตุแบบความเป็นจริงเสริมสำหรับการสนับสนุน
การเรียนรู้แบบร่วมมือ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศ ครั้งที่ 13 = The 13th national conference on computing and information
technology (NCCIT 2017) (หน้า 75). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สื่อเสริมการเรียนรู้ออกเมนเต็ด เรียลลิตี้. สืบค้นเมื่อ
20 กรกฎาคม 2560, จาก http://secondsci.ipst.ac.th
Azuma, R. T. (1995). The most important challenge facing augmented reality.
In ACM SIGGRAPH 1995 (Los Angeles, 6-11 August 1995) (pp. 20-38).
25(3), 234-238.
Azuma, R.T., Yohan, B., Behringer, R., et al. (2001). Recent advances in augmented reality.
IEEE, 25(3), 95.
Fosnot, C. (2005). Constructivism : Theory, perspectives, and practice. New York:
Teachers College Press.
Gagne´, R. M., Briggs, L. J, and Wager, W. W. (1992). Principles of instructional design.
(4th ed). New York: Harcourt Brace College Publisher.
Huitt, W. (2011). Bloom et al.’s taxonomy of the cognitive domain. Educational
Psychology Interactive. Retrieved from http://www.edpsycinteractive.org/topics/
cognition/bloom.html
Johnson, L., Smith, R., Willis, H. et al. (2011). The 2011 horizon report. Austin,
TX: New Media Consortium.
Kipper, G., and Rampolla, J. (2013). Augmented reality : An emerging technologies
guide to AR. Waltham, MA: Syngress.
Rodgers, C. (2014). Augmented reality book and the reading motivation of
fourth-grade students. (Doctor of Education in Educational Leadership). Union
University School of Education. n.p. New York: Plenum Press.