การบริหารสถานศึกษาโดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอท่าสองยาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

Main Article Content

ศุภกร เนตรผา
ธีระภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้วงจรคุณภาพ ข้อเสนอแนะ
การบริหารสถานศึกษาโดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอท่าสองยาง สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอท่าสองยาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 307 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสถานศึกษาโดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ในอำเภอท่าสองยาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยรวมและรายด้าน
โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติ
ตามแผน อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการตรวจสอบ อยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนอยู่ในระดับมาก
และด้านการแก้ไขปรับปรุง อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร กระบวนการ
เรียนรู้ ควรส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในการสร้างนวัตกรรมและเน้นการเรียนการสอนของครูให้ตรงกับความสามารถ
และความถนัด ควรมีการกำหนดปฏิทินและแนวทางการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรมี
การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ขจรเกียรติ มานิกลักษณ์. (2556). กระบวนการวางแผนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. มหาสารคาม.
ชนะพงษ์ คงบำรุง. (2555). การศึกษาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง
ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก
เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร.
ธีระ รุญเจริญ. (2551). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
เนตรพิชญ์ จำปาเทศทอง. (2544). ผู้บริหารกับการบริหารแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ:
ชวนการพิมพ์.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.
ประกอบ พอดี. (2556). การนำวงจรเดมมิ่งมาใช้ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2553). นโยบายและการวางแผน : หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ:
เนติกุลการพิมพ์.
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2555). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องตน. กรุงเทพฯ: ภาควิชา
การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยงยุทธ แตงหอม. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการวางแผนปฏิบัติการประจำปี
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เขต 1.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
รุ่ง แก้วแดง. (2552). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
วราภรณ์ วิริยะคุปต์. (2554). กระบวนการวางแผนการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สมศักดิ์ คงเที่ยง และ อัญชลี โพธิ์ทอง. (2551). เอกสารการบรรยาย กระบวนวิชา EA 733
การบริหารบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมศักดิ์ ฝั้นคำอ้าย. (2546). การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพของคณะกรรมการ
ข้าราชการครูตามความเห็นชอบของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดลำปาง.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏลำปาง. ลำปาง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและ
การจัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ:
สำนักงานฯ.
สุพัตรา ปทุมคณารักษ์. (2553). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอทับปุด เขตพื้นที่
การศึกษาพังงา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2555). กัลยาณมิตรนิเทศสำหรับผู้บริหาร กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้าง
โรงเรียนให้เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2551). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.