การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และความคงทน ในการเรียนรู้ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกต

Main Article Content

นิตยา ขันทะ
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิต
สามมิติและปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และเพื่อเปรียบ
เทียบความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งนาน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ประจำ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแผนการจัด
การเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตร
ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
สมมติฐานด้วยค่า t ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียน
รู้โดยใช้โครงงานสูงกว่ากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสูงกว่ากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสูงกว่ากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา หวันหะ. (2556). ผลการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูสวรรค์ จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ดวงคำ แดงคงรอด. (2555). ผลการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรที่มีต่อผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแคนา จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ:
ด่านสุทธาการพิมพ์.
ประทินรัตน์ นิยมสิน. (2554). การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI
และเทคนิค TGT กับระดับความสามารถทางการเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต. (มปป.). แนวคิดการเรียนรู้กับการเรียนการสอน ใน ประมวลสาระชุดวิชา
การพัฒนาหลักสูตรและวิทยวิธีการสอน หน้า 96. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประสาท อิศรปรีดา. (2547). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. มหาสารคาม: คลังนานาวิทยา
เพชรี บุรินทร์โกษฐ์. (2554). ผลการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลัง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดโพธาวาส) จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
พรภิมล ระวังการ. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำภาษา
อังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกความสามารถทางการเขียนและ
การสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
เรณู รัตนประเสริฐ. (2554). ผลการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทับวัง จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
โรงเรียนบ้านทุ่งนาน้อย. (2557). รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนาน้อย
ปีการศึกษา 2556. เชียงราย: โรงเรียนบ้านทุ่งนาน้อย.
สมวงษ์ แปลงประสพโชค และคนอื่นๆ. (2552). คู่มือการสอนโครงงานคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สยาม สิงหาทอง. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความคงทน
ในการเรียนรู้และความพึงพอใจต่อวิธีสอนแบบโครงงานเรื่องการนำเสนอข้อมูลทางสถิติของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบโครงงาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
อรรจนีย์ ชูช่วยสุวรรณ. (2552). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ัมพรม้าคะนอง.(2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ.กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุมาพร สุวรรณดี. (2557). การปฏิบัติทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อุบลราชธานี.